PTT สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 28 พ.ย. – 2 ธ.ค. 65 และแนวโน้ม 5 – 9 ธ.ค. 65

102

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 จากความไม่แน่นอนของมาตรการ Zero-COVID ในจีน ของประธานาธิบดี Xi Jinping ที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ อย่างไรก็ดี ในวันพุธที่ 7 ธ.ค. 65 รัฐบาลจีนอาจผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศเพื่อลดแรงกดดันจากการประท้วง

ทางด้านอุปทาน ที่ประชุม The OPEC and non-OPEC Ministerial Meeting ครั้งที่ 34 ของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) มีมติคงแผนลดการผลิตน้ำมันดิบ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน พ.ย. 65 จนถึงอย่างน้อยในเดือน มิ.ย. 66 (สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า OPEC+ จะตัดสินใจลดการผลิตเพิ่มอีก 0.25 – 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน) โดย OPEC+ จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 4 มิ.ย. 66

ขณะที่กลุ่ม G7 พร้อมด้วยออสเตรเลียและสหภาพยุโรป (EU) ตกลงการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) ของน้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งทางทะเลไว้ที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เริ่มบังคับใช้วันที่ 5 ธ.ค. 65 ทั้งนี้ น้ำมันดิบที่ขนจากท่าเรือรัสเซียก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 65 และถึงท่าเรือปลายทางก่อนวันที่ 19 ม.ค. 66 ไม่อยู่ในข้อกำหนด Price Cap อย่างไรก็ดี โฆษกรัฐบาลรัสเซีย นาย Dmitry Peskov ชี้ว่ารัสเซียพร้อมที่จะตอบโต้และจะไม่ยอมรับการกำหนดเพดานราคาน้ำมันดังกล่าว ที่ผ่านมารัสเซียเน้นย้ำว่าจะไม่จัดส่งน้ำมันให้กับประเทศที่ดำเนินการตามข้อตกลง Price Cap

ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในปี 65 จะเฉลี่ยที่ 100.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และในปี 66 จะเฉลี่ยที่ 95.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80 – 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • จับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในที่ 13-14 ธ.ค. 65 ซึ่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สาขา San Francisco นางสาว Mary Daly คาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate: FFR) ขึ้น 0.75% จากระดับปัจจุบัน มาอยู่ที่ 4.5 – 4.75%
  • National Bureau of Statistics of China (NBS) ของจีน รายงาน Purchasing Managers’ Index (PMI) ในเดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ 48 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 49.2 จุด

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • Bloomberg รายงานยุโรปนำเข้าน้ำมันดิบรัสเซียทางทะเล สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ธ.ค. 65 ลดลง 1.5 แสนบาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.1 แสนบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ ยุโรปนำเข้าน้ำมันดิบรัสเซียทางทะเลในเดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  • ผู้อำนวยการ International Energy Agency (IEA) นาย Fatih Birol คาดว่ารัสเซียจะผลิตน้ำมันดิบลดลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากระดับปัจจุบัน ภายในไตรมาส 1/66 ทั้งนี้ รัสเซียผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 65 อยู่ที่ 10.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  • Reuters รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC (13 ประเทศ) ในเดือน พ.ย. 65 ลดลง 0.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 29.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0