“IMH” ปรับแผนหลังโควิด คาดผลประกอบการโต 40%

55

มิติหุ้น  –   โรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ (“IMH”) เดินเกม รีแบรนด์ รพ.ประชาพัฒน์ สู่ “รพ. IMH ธนบุรี”พร้อมตั้งเป้าเป็นผู้นำในการให้บริการคนไข้สิทธิ์รัฐ เช่น สปสช. (บัตรทอง), ประกันสังคม และ คนไข้เงินสดราคาบัตรทอง เพื่อให้สอดรับกับทิศทางนโยบายของกลุ่ม IMH และปูทางการขยาย “คลินิกเวชกรรม IMH ” เพิ่ม 10 แห่ง ใน Q4 นี้ หนุนผลประกอบการ เติบโตกว่า 40% ขณะที่ รพ. IMH แบริ่ง จ่อดีเดย์เปิดให้บริการ Q2/2568 ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพใต้ – สมุทรปราการ  ด้าน บล.หยวนต้า ตอกย้ำความแข็งแกร่ง IMH ให้ราคาเป้าหมาย 26.10 บาท/หุ้น ชี้ เป็น รพ. ที่ปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ของกลุ่ม Health Care ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

ดร.สิทธิวัตน์ กำกัดวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โรงพยาบาลอินเมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ (IMH) เปิดเผยว่า ทางโรงพยาบาลประชาพัฒน์ ขอแจ้งเรื่องการเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลใหม่ เป็น โรงพยาบาล IMH ธนบุรี (IMH Thonburi Hospital) เพื่อรองรับแผนการขยายกิจการโรงพยาบาล ของกลุ่ม IMH ในอนาคตอันใกล้

ทั้งนี้ โรงพยาบาล IMH ธนบุรี ตั้งเป้าจะเป็นผู้นำ ในการให้บริการคนไข้สิทธิ์รัฐ เช่น สปสช. (บัตรทอง), ประกันสังคม และ คนไข้เงินสดราคาบัตรทอง ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี  และ ขยาย เครือข่ายคลินิก กว่า 10 แห่ง ใช้แบรนด์ “คลินิกเวชกรรม IMH”  ใน Q4/65 เพื่อรองรับการให้บริการคนไข้ปฐมภูมิ  และ คนไข้เงินสดราคาบัตรทอง ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี

 ขณะที่ บริษัทแม่ (IMH) ซึ่งเป็น โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านอาชีวะเวชศาสตร์ จะโฟกัสด้าน หน่วยแพทย์ เคลื่อนที่, Telemed และ Central Lab สามารถให้บริการลูกค้าบริษัท/โรงงาน ได้ทั่วประเทศ เหนือจรดใต้ ผ่านรถหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ประจำการกว่า 14 คัน เน้นการขยาย market share  สร้างฐานลูกค้าใหม่ refer ให้ใช้บริการ รพ. ในเครือ IMH

สำหรับแผนการก่อสร้าง รพ. IMH แบริ่ง โรงพยาบาลขนาดใหญ่ 600 เตียง นั้น คาดว่าจะสามารถรับลูกค้าเงินสดระดับกลาง – บน ได้ Q2/68 ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพใต้ – สมุทรปราการ ด้วยการแบ่ง position ของแต่ละโรงพยาบาลในเครือ IMH ที่ชัดเจนมากขึ้น จะทำให้นักลงทุนเห็นภาพ “ความเป็นเครือข่าย (Network)” และ “พื้นที่ให้บริการครอบคลุมใหญ่ขึ้น (Area -Based)” และ “การส่งต่อคนไข้และลดต้นทุนรวมของกลุ่ม (Synergy)” ได้เป็นอย่างดี  รองรับแนวทางการขยายกิจการโรงพยาบาล ของ กลุ่ม IMH ในอนาคต

ทั้งนี้สรุปได้ว่า กลุ่มโรงพยาบาล IMH จะมีศักยภาพ ในการทำรายได้หลังโควิด โตกว่า 40% โดยมี key driver จาก การเปิด “คลินิกเวชกรรม IMH” กว่า 10 แห่ง ใน Q4/65 รับคนไข้บัตรทองและคนไข้เงินสดราคาบัตรทอง และส่งต่อคนไข้โรคเฉพาะทาง มา รพ. IMH ธนบุรี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินว่า กลุ่ม IMH มีลักษณะเด่นที่สามารถปรับตัว รับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ของกลุ่ม Health Care ได้อย่างรวดเร็ว และมี ประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าบริษัท จะมีรายได้หลังโควิด ที่เติบโตขึ้น จากการขยายตัว ของ เครือข่าย “คลินิกเวชกรรม IMH”  และ refer คนไข้มาใช้บริการโรคเฉพาะทางกับ รพ. ในเครือ IMH  จึงให้ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 26.10 บาท/หุ้น (ราคานี้ยังไม่รวมมูลค่า โรงพยาบาล IMH แบริ่ง ที่จะทำให้ IMH อัพเกรดเป็น โรงพยายาลขนาดใหญ่และขยาย ฐานรายได้ให้บริษัทได้อย่างมาก)

@mitihoonwealth

https://lin.ee/cXAf0Dp