AIS ผนึก ZTE เปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center” แห่งแรกในไทย พร้อมประกาศความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ เดินเครื่องพัฒนาโครงข่าย 5G อัจฉริยะ ก้าวสู่การเป็น Cognitive Tech-Co ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

231

มิติหุ้น – AIS ผู้ให้บริการดิจิทัลโครงข่ายอัจฉริยะอันดับหนึ่งของไทย พร้อมด้วย ZTE Corporation ผู้พัฒนาดิจิทัลเทคโนโลยีระดับโลกจากประเทศจีน ร่วมกันเปิดตัว A-Z Center หรือศูนย์นวัตกรรม 5G แห่งแรกในประเทศไทย ภายหลังจากที่มีการลงนามข้อตกลงในฐานะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G วางเป้าส่งเสริมการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของดิจิทัลเทคโนโลยีให้มีความแข็งแกร่ง สร้างสรรค์โซลูชันที่จะสนับสนุนการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งต่อประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้แก่คนไทย เพิ่มขีดความสามารถและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับประเทศไทย

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  AIS กล่าวว่า “เพราะ 5G คือ เทคโนโลยีที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศ ดังนั้นในฐานะผู้ให้บริการโครงข่ายที่มีคลื่นความถี่ครอบคลุมการใช้งานมากที่สุดในไทย เราจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับประเทศอย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกับ ZTE ในระดับยุทธศาสตร์ ใน 3 ส่วนประกอบด้วย

  • ยกระดับโครงข่าย 5G ของไทยให้ก้าวสู่การเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมาตรฐานระดับโลก เป็นมากยิ่งกว่าโครงข่ายที่เร็วที่สุด พร้อมก้าวสู่โครงข่ายอัจฉริยะที่ควบคุมสั่งการได้ด้วยตัวเองแบบ real time (5G Smart Autonomous Network)
  • ร่วมกันพัฒนาโซลูชันเพื่อภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาชน เสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันตามนโยบายไทยแลนด์ 0
  • ส่งต่อบริการจาก 5G หลากหลายรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนไปยังคนไทย

โดยมี ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center แห่งแรกของไทย เป็นศูนย์กลางการทำงานตามเป้าหมายข้างต้น อันจะถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปลดล็อคศักยภาพของประเทศไทยให้เดินหน้าไปอีกขั้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ที่เริ่มทำ Digital Transformation เพื่อเสริมประสิทธิภาพและยกระดับการบริหารจัดการ อันจะส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ”

นายสวี จือหยาง ซีอีโอ ZTE Corporation กล่าวว่า “ความร่วมมือในฐานะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสู่การจัดตั้ง A-Z Center ครั้งนี้ จะสามารถนำเสนอนวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะยิ่งการนำเอาโครงข่าย 5G มาวางรากฐานด้านการวิจัยและพัฒนาจะทำให้เกิด Use Case ใหม่ๆ ในอนาคตที่พร้อมรองรับทั้งความต้องการของลูกค้าและการเพิ่มโอกาสให้กับภาคธุรกิจ”

ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center จะเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและโซลูชันที่ครบถ้วนที่สุด ทั้งการติดตั้งสถานีฐานทุกย่านความถี่เพื่อการทดลองทดสอบ พร้อมเทคโนโลยีเครือข่ายต้นแบบที่จะพลิกโฉมการพัฒนาเครือข่าย 5G ในประเทศไทย, โซลูชันต้นแบบเพื่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ  (5G vertical industry applications), อุปกรณ์สื่อสารปลายทาง (Smart Terminal) ที่จะมีการหมุนเวียนมาทดสอบและจัดแสดง โดยในเบื้องต้น ประกอบด้วย

  1. Next Generation Products for 5G Capability Growth เทคโนโลยีเครือข่ายที่พร้อมรองรับ 5G โดยทาง ZTE ในฐานะผู้พัฒนา ได้ขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านแนวคิด “1+2+3” ที่ประกอบไปด้วย เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน 2.พันธุกรรมรากฐานต้นแบบ และ 3. สามองค์ประกอบที่ยกระดับการต่อยอดและขยายผล เพื่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด อาทิ
  • Radio Composer ที่เป็นครั้งแรกในโลกอันเกิดจากการทำงานร่วมกับ AIS ในการพัฒนา AAU (Active Antenna Unit) 5G mmWave bandwidth support 2GHz, AAU 5G 2.6GHz ที่ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยอุปกรณ์ 5G radio ใหม่นี้ถูกออกแบบให้ตรงกับความต้องการและส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าเอไอเอสและยังเป็นมิตรกับธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานอีกด้วย
  • RIS (Reconfigurable Intelligent Surface) คืออุปกรณ์ช่วยสะท้อนสัญญาณ 5G ที่พัฒนามาสำหรับคลื่น 26 GHz หรือ mmWave ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขยายสัญญาณโครงข่าย 5G ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
  1. 5G Use Cases เพื่อเชื่อมต่อการใช้โครงข่าย 5G ไปยังภาคอุตสาหกรรม อาทิ
  • 5G Natural Navigation AGV หรือรถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติที่ embedded 5G module สามารถใส่ซิมการ์ด 5G ได้เลย ง่ายต่อการใช้งานโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ เพราะไม่ต้องติดตั้ง Wifi
  • 5G Machine Vision ระบบที่ใช้สำหรับงานตรวจสอบทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ผ่าน 5G โดยมีระบบการประมวลผลที่ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ สามารถตัดสินใจได้และส่งผลลัพธ์ที่ต้องการได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้
  • 5G XR Explorer ระบบที่นำ XR เข้ามาใช้งานผ่าน 5G, XR หรือ Extended Reality เป็นเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ผสมผสานหลากหลายมิติเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมในโลกจริง สภาพแวดล้อมดิจิทัล รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสวมใส่ นำไปใช้ในการ Training หรือ Guidance ได้
  • 5G Holographic หรือเทคนิคการสร้างภาพสามมิติ ที่ถูกนำมาปรับใช้อย่างแพร่หลาย อาทิ การประชุมทางไกล การศึกษาและงานอีเวนท์ขนาดใหญ่ หรือเมตาเวิร์ส เหมาะกับการใช้แบนด์วิธขนาดใหญ่ เช่น AR หรือ VR ถือเป็นการทลายขีดจำกัดระหว่างโลกเสมือนและโลกแห่งความจริงให้สามารถเชื่อมต่อได้อย่างไร้รอยต่อด้วย 5G
  1. Diversified 5G Terminal Devices โดย AIS ได้ร่วมกับ ZTE เปิดตัวสมาร์ทโฟน 5G ZTE Blade A72 ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือ 5G ที่มีประสิทธิภาพและราคาคุ้มค่าที่สุดสำหรับตลาดสมาร์ทโฟนในไทย โดยคาดว่าจะเปิดตัวในเดือนตุลาคม 2565 รวมไปถึง Smart Terminal อื่นๆ เช่น 5G CPE และ 5G Router ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำภาพของ ZTE ในฐานะผู้ให้บริการ End-to-End เพียงรายเดียวที่ทำงานร่วมกับ AIS ในฐานะผู้ให้บริการโครงข่ายที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภค

ความร่วมมือในครั้งนี้ระหว่าง AIS กับ ZTE เป็นก้าวที่สำคัญที่แสดงออกถึงความพร้อมในการต่อยอดเป้าหมาย Cognitive Tech-Co ด้วยการพัฒนาโครงข่าย 5G สู่การเป็น 5G Smart Autonomous Network ทั้งในแง่ของการส่งมอบประสบการณ์ที่ดี การสร้างโอกาสให้กับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมและโซลูชันมิติใหม่ๆ ที่จะเข้ามาขานรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับไวของบริบททางสังคม ตลอดจนการสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับไทยในอนาคต

 

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp