วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

69

ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือน ส.ค.

– ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับลดลง หลังตลาดได้รับแรงกดดันจากดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (CPI) ปรับเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา โดยสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลงร้อยละ 0.1 อีกทั้งปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี  โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหมายว่าจะปรับเพิ่มเพียงร้อยละ 8.1 โดยจากตัวเลขที่ปรับสูงขึ้นนี้ เป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและความต้องการใช้น้ำมันลดลง

– ประเทศจีน ผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก ยังคงใช้มาตรการล็อกดาวน์ในหลายเมือง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วประเทศปรับลดลงในรอบ 20 ปี รวมทั้งส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวซบเซาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากข้อจำกัดในการเดินทางในช่วงวันหยุดยาว

– หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุด ณ วันที่ 9 ก.ย. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 6.0 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 8.0 แสนบาร์เรล ขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลด 3.2 ล้านบาร์เรล และปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรล

ราคาน้ำมันเบนซิน – ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมการขับขี่ในอินเดียที่ฟื้นตัวสูงขึ้นจากภาวะฝนตกหนักคลี่คลายลง ประกอบกับอุปทานเดือน ก.ย. มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นจากการปิดซ่อมบำรุงตามแผนของโรงกลั่นภายในประเทศ

ราคาน้ำมันดีเซล – ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าปริมาณการนำเข้าน้ำมันดีเซลของเวียดนามปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางอุปสงค์ในจีนที่ยังคงจำกัดจากมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp