สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 29 ส.ค. – 2 ก.ย. 65 และแนวโน้ม 5 – 9 ก.ย. 65

147

ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

 

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ล่าสุด ทรงตัวและลดลงกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยนักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์ COVID-19 ในจีน และธนาคารกลางหลายแห่งมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจกดดันเศรษฐกิจและอุปสงค์พลังงาน อาทิ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีกำหนดการประชุมในวันที่ 8 ก.ย. 65 โดย Goldman Sachs, Bloomberg และ IHS Markit คาดการณ์ ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Main Refinancing Rate) มาอยู่ที่ระดับ0.75% จากปัจจุบันที่ 0.5% และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 20-21 ก.ย. 65 ซึ่ง Reuters Poll คาดการณ์ว่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.75% จากระดับปัจจุบันที่ 2.25-2.5% แม้อัตราว่างงานในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นก็ตาม

ติดตามผลการประชุมของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) ในวันที่ 5 ก.ย. 65 นี้ ซึ่งก่อนหน้า ซาอุดีอาระเบียส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาลดการผลิตเพื่อกระตุ้นราคา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีท่าทีเห็นด้วย ทั้งนี้การประชุม Joint Technical Committee (JTC) ของกลุ่ม OPEC+ คาดการณ์ตลาดน้ำมันในปี 2565 จะอยู่ในสภาวะที่การผลิตสูงกว่าความต้องการใช้ (Surplus) อยู่ที่ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้า 400,000 บาร์เรลต่อวัน หลังที่ประชุมพิจารณารวมตัวเลขการผลิตที่ต่ำกว่าโควตาของประเทศสมาชิกที่มีนัยสำคัญเข้าไปด้วย

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • เมืองใหญ่ในจีนหลายแห่งประกาศยกระดับมาตรการ Lockdown เพื่อตรวจ COVID-19 และควบคุมการแพร่ระบาด อาทิเมือง Dalian และเมือง Chengdu
  • EIA รายงานสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันดิบในเดือน มิ.ย. 65 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 200,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 8 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่ เม.ย. 63 ขณะที่ Kpler รายงานสหรัฐฯ ส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ส.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 8,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 3.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่ ธ.ค. 62
  • Reuters รายงานแผนการส่งมอบน้ำมันดิบ 5 ชนิดจากแหล่งในทะเลเหนือ (North Sea) ได้แก่ Forties, Brent, Oseberg, Ekofisk, และ Troll ในเดือน ต.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 175,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 755,000 บาร์เรลต่อวัน

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • 3 ก.ย. 65 Gazprom รัฐวิสาหกิจก๊าซธรรมชาติของรัสเซียประกาศว่าจะยังไม่กลับมาดำเนินการท่อก๊าซฯ Nord Stream 1 (55,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี) จากรัสเซียไปถึงเยอรมนี หลังหยุดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 3 วัน (31 ส.ค.- 2 ก.ย. 56) เนื่องจากมีน้ำมันรั่วไหลจากกังหัน (Turbine) ในสถานีเพิ่มแรงดัน แม้ Siemens Energy บริษัทผู้ผลิต Turbine ของเยอรมนีจะแย้งว่าปัญหาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องปิดใช้ท่อ
  • อิรักไม่สงบ จากความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ หลังผู้นำนิกายชีอะห์ นาย Muqtada al-Sadr ถอนตัวจากการทำงานการเมือง ทำให้ผู้สนับสนุนออกมาประท้วงและปิดล้อมสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงแหล่งผลิตน้ำมัน Majnoon (220,000 บาร์เรลต่อวัน) และโรงกลั่น Basrah (210,000 บาร์เรลต่อวัน) เมื่อ 29 ส.ค. 65 มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15 ราย และบาดเจ็บกว่า 350 ราย จากการปะทะกับเจ้าหน้าที่รักษาความสงบ ทั้งนี้อิรักส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ก.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 36 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp