นักเก็งกำไรเข้าซื้อสัญญาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวอายุ 10 ปีต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ในปริมาณค่อนข้างมาก

41

Summary 

  • ตลาด: นักเก็งกำไรเข้าซื้อสัญญาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวอายุ 10 ปีต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ในปริมาณค่อนข้างมาก

  • น้ำมัน: ปธน. ไบเดน ประสบความล้มเหลวในการขอความร่วมมือเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากซาอุดีอาระเบีย

Chart of the Day 

  • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงเร็วจากความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจถดถอย

Highlight

  • US NAHB Housing Market Index (Jul): 55 pts (vs. 67 prev and 65 cons) 

Today’s Data Releases

  • สหรัฐฯ: ยอดก่อสร้างบ้านใหม่ (Housing Starts) และยอดขออนุมัติสร้างบ้าน (Building Permits) เดือน มิ.ย. 

Upcoming Events

  • (19-23 ก.ค.) ครม. มีมติให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงวันที่ 19 – 23 ก.ค. โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวอาจจะทำให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองเพิ่มขึ้น

  • (20-21 ก.ค.) การประชุม BoJ คาด BoJ จะยังคงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม ทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control โดยเราคาด BoJ จะยังคงจุดยืนทางนโยบายที่ผ่อนคลายไปตลอดจนสิ้นสุดวาระของนาย Haruhiko Kuroda ผู้ว่าฯ BoJ ในเดือน เม.ย. 2023 เป็นอย่างน้อย ตามคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะยังคงห่างไกลเป้าหมายที่ 2% ในระยะปานกลาง (แม้ในระยะสั้นจะเร่งตัวขึ้นมากจากผลของราคาพลังงานที่ปรับขึ้นมามาก และผลของฐานต่ำจากมาตรการลดค่าบริการโทรศัพท์ในปีก่อน)

  • (21 ก.ค.) การประชุม ECB คาด ECB ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่สูงกว่าเป้าหมายอย่างมาก โดยคาด ECB จะปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างน้อย 75-100bps ในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ ในเดือน ก.ย. อาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากถึง 50bps ขึ้นอยู่กับคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะกลาง (ปี 2024F) ตามที่ ECB ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้

  • (26 ก.ค.) IMF ออกทบทวนรายงานประมาณการเศรษฐกิจฉบับใหม่ (WEO Update) คาดมีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลง จากปัญหาเงินเฟ้อที่สูงยาวนาน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลก กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19 คลี่คลายลง ทั้งนี้ ในรายงานฉบับเดือน เม.ย. IMF คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัว 3.6% ในปีนี้และปีหน้า 

  • (26-27 ก.ค.) คาด Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย 75bps สู่ระดับ 2.25-2.50% เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่ยังขยายตัวในระดับสูงและยังไม่ชะลอตัว ติดตามการส่งสัญญาณของนาย Powell เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 50-75bps ในการประชุม 2 ครั้งหน้า (เดือน ก.ยและ พ.ย.) เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูงยาวนาน

 

Key economic events and data releases

SourceBloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

Global Economic Pulse

  • นักเก็งกำไรเข้าซื้อสัญญาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวอายุ 10 ปีต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ในปริมาณค่อนข้างมาก
    • รายงานสถานะการลงทุนของนักเก็งกำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (CFTC Commitment of Trader Report) ซึ่งสะท้อนมุมมองของนักลงทุนประเภท Hedge Funds เป็นรายสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ก.ค.

    • นักเก็งกำไรขายสัญญาน้ำมันต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ที่ -12,195 สัญญา จาก Recession fear และดัชนีคเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูงซึ่งส่งผลเชิงลบต่อความสามารถในการซื้อน้ำมันของประเทศที่ใช้สกุลเงินอื่น ๆ ซึ่งจะกระทบกับอุปสงค์ของน้ำมันโลก ส่งผลให้สถานะ Net Long สะสมในสัญญาน้ำมันลดลงอยู่ที่ 268,238 สัญญา อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี 

    • ด้านสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Asset) นักเก็งกำไรยังคงขายสัญญาทองคำต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 ที่ -27,539 สัญญา ส่งผลให้สถานะ Net Long สะสมในสัญญาทองคำยังอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ 118,121 สัญญา

    • นักเก็งกำไรยังคงเข้าซื้อสัญญาพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงที่ +62,129 สัญญา ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ทำให้สถานะ Net Short สะสมในสัญญาพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ลดลงเป็น -108,371 สัญญา

    • ในด้านสินทรัพย์เสี่ยง (Risk Asset) นักเก็งกำไรพลิกเข้าซื้อสัญญา MSCI Emerging Markets หลังจากก่อนหน้านี้ทำการขายต่อเนื่องมา 4 สัปดาห์ที่ +16,861 สัญญา ส่งผลให้จำนวนสถานะสะสมพลิกกลับเข้าสู่ฝั่งซื้ออีกครั้ง (Net Long) ที่ 11,306 สัญญา 

    • Our takeSentiment ของตลาดยังอยู่ในเชิงลบ จากทั้งนโยบายการเงินที่เข้มงวด ประกอบกับความกังวลจากความเสี่ยง Recession สะท้อนผ่านความต้องการ Hedge long position ในกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัยที่สูงขึ้น เห็นได้จากจำนวนสถานะ Net Long ของสัญญาค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สะสมที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี 

Figure 1: นักเก็งกำไรเข้าซื้อสัญญาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯระยะยาวอายุ 10 ปีต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ในปริมาณค่อนข้างมาก

กำลังแทรกรูป...

SourceBloomberg, CFTC, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

  • น้ำมัน: ปธน. ไบเดน ประสบความล้มเหลวในการขอความร่วมมือเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากซาอุดีอาระเบีย
    • ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นราว 6% เมื่อวานนี้ (18 ก.ค.) จากการพูดคุยระหว่างผู้นำสหรัฐฯ คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) จอร์แดน อียิปต์ และอิรักในวันเสาร์ที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่าผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อย่างซาอุดีอาระเบีย จะดำเนินแผนการผลิตตามที่ตกลงร่วมกันกับ OPEC+ และจะไม่เพิ่มกำลังการผลิตสูงไปกว่านี้ตามข้อเรียกร้องจากสหรัฐฯ 
    • นอกจากนี้ มงกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบียยังได้กล่าวว่า ซาอุดีอาระเบียจะทำตามคำแถลงที่เคยให้ไว้ว่าจะลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตทั้งหมดของประเทศให้อยู่ในระดับราว 13 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2027 หรืออีก 5 ปี จากปัจจุบันที่ความสามารถการผลิตทั้งหมดอยู่ที่ราว 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน และหลังจากนั้นจะไม่เพิ่มกำลังการผลิตไปสูงกว่านี้อีก (After which, the Kingdom will not have any additional capacity to increase production.) ซึ่งนับเป็นข้อจำกัดต่ออุปทานน้ำมันโลกในระยะยาว
    • Our take: คาดว่าจะเห็นราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ในกรอบ 100-110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากราคาปัจจุบันที่สะท้อนความกังวลต่อ Recession ไปค่อนข้างมากแล้วในกลุ่มนักเก็งกำไร ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานสมดุลระหว่างอุปสงค์-อุปทานยังคงตึงตัว 

Figure 2: กำลังการผลิตจริงของซาอุดีอาระเบียในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 10.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าโควต้าการผลิต และมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถเร่งกำลังการผลิตไปที่ระดับ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในเดือน ส.ค. ตามโควต้าที่ได้รับ

SourceBloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

Chart of the Day: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงเร็วจากความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจถดถอย

กำลังแทรกรูป...

Source: World Bank, Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

  • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยมากปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา หลังก่อนหน้านี้ในช่วงต้นปีราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงจากภาวะความกังวลต่อการขาดแคลนอุปทานจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน
  • สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว มาจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่เพิ่มขึ้นของตลาด อาทิ ในสหรัฐฯ Bloomberg ประเมินความน่าจะเป็นที่เกิด Recession ภายใน 12 เดือนข้างหน้าที่เกือบ 40% เพิ่มขึ้นจากราว 0% ในช่วงหลายเดือนก่อนหน้า ขณะที่มองระยะไกลกว่านั้น (หรือในช่วง 24 เดือนข้างหน้า) มีโอกาสเข้าสู่ Recession เกือบ 100% 

  • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงเป็นวงกว้างจะช่วยลดแรงกดดันต่อสภาวะเงินเฟ้อผ่านต้นทุนการผลิตสินค้า อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ นับเป็นปัจจัยหนุนให้เงินเฟ้อยังคงขยายตัวในระดับสูงยาวนาน ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในไตรมาส 2 (เงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ขยายตัวเฉลี่ย 8.7% YoY) โดยตลาด (Bloomberg Consensus) มองเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะยังขยายตัวสูงถึง 8.3% ในไตรมาส 3 และ 7.2% ในไตรมาส 4 ปีนี้ 

  • ดังนั้น การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางจะยังคงมีความจำเป็น เพื่อกดอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงให้ลงมาใกล้เคียงกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว โดยการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่จะมาถึงในวันที่ 26-27 ก.ค.นี้ ตลาดยังคงให้น้ำหนักการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 75 bps สู่ระดับ 2.25-2.50%

 

ESU Risk Indicators:

1) Bond yield ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น อย่างไรก็ดี Bond yield ที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปอาจกลับมากดดัน Valuation ของตลาดหุ้นได้

MovementBond yield 10 ปี ลดลงมาอยู่ในระดับ 2.9 – 3.0% ท่ามกลางความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มสูงขึ้น จากผลกระทบของการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง

SourceBloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

 

2) คาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว ซึ่งหากอยู่ระดับสูงกว่า 2.5% อย่างต่อเนื่อง Fed จะยังคงใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาการปรับขึ้นราคาไม่สิ้นสุด (Wage-price spiral)        

Movement: คาดการณ์เงินเฟ้อระยะยาว (10 Year Breakeven Inflation) ลดลงสู่ระดับ 2.3% ต่ำกว่าระดับ 2.5% ท่ามกลางนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นมาก หลัง Fed ส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

SourceBloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

 

3) ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี และ 2 ปี (Yield spread) ซึ่งสะท้อนวัฏจักรของเศรษฐกิจ โดยเมื่อส่วนต่างลดลงจนติดลบ (Yield curve invert) ชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงปลายของวัฏจักร และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ในอดีตตั้งแต่ปี 1956 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ Recession หลัง Yield curve invert โดยเฉลี่ย 19 เดือน รอบนี้ Yield

@mitihoonwealth

https://lin.ee/cXAf0Dp