สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 13 – 17 มิ.ย. 65 และแนวโน้ม 20 – 24 มิ.ย. 65

243

ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดลดลง โดยปลายสัปดาห์ ICE Brent ลดลงกว่า 6% อยู่ที่ระดับ113 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เนื่องจากความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ภายหลังธนาคารกลางในหลายประเทศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ Eurostat รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ของยูโรโซน ซึ่งบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) เดือน พ.ค. 65 จากปีก่อน อยู่ที่ +8.1% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 65 ที่ +7.4% ส่วนหนึ่งจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า กดดันสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงน้ำมัน โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เคลื่อนไหวเหนือระดับ 105 จุด สูงสุดในรอบ 20 ปี

อย่างไรก็ตาม Météo-France หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของฝรั่งเศสรายงานอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศ วันเสาร์ (18 มิ.ย. 65) อยู่ที่ 27.4 องศาสเซลเซียส สูงสุดเป็นประวัติการณ์สำหรับเดือน มิ.ย. หลังเกิดคลื่นความร้อน (Heat wave)

ถาโถม โดย 3 เมืองทำสถิติอุณหภูมิสูงสุด อาทิ Biarritz ที่ 42.9 องศา ด้าน AEMET ของสเปนรายงานว่าอุณหภูมิในกรุง Madrid และเมือง Zaragoza อยู่ในช่วง 40-42 องศาเซลเซียส สูงสุดในรอบ 4 ทศวรรษสำหรับช่วงเวลานี้ คลื่นความร้อนดังกล่าว ส่งผลให้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงที่อุปทานก๊าซฯ ไม่แน่นอนจากสถานการณ์ความขัดแย้งกับรัสเซีย

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • 15 มิ.ย. 65 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75% เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่ปี 2537 อยู่ที่ระดับ 1.5%-1.75%
  • 16 มิ.ย. 65 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ อังกฤษ (Monetary Policy Committee) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25% มาอยู่ที่ 1.25% สูงสุดในรอบ 13 ปี
  • Interfax รายงานรัสเซียผลิตน้ำมันดิบ และคอนเดนเสท ช่วง 1-13 มิ.ย. 65 เพิ่มขึ้น 498,000 บาร์เรลต่อวัน จากระดับเฉลี่ยในเดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งออกเพิ่มขึ้น 0.5% อยู่ที่ 4.86 MMBD
  • สำนักสถิติแห่งชาติของจีน (National Bureau of Statistics: NBS) รายงานโรงกลั่นนำน้ำมันดิบเข้ากลั่น (Throughput) ในเดือน พ.ค. 65 ลดลงจากปีก่อน 9% อยู่ที่ 12.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เกือบต่ำสุดในรอบ 10 ปี

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • รายงานฉบับเดือน มิ.ย. 65 ของ OPEC รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน พ.ค. 65 ลดลงจากเดือนก่อน 180,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 51 ล้านบาร์เรลต่อวัน สวนทางกับข้อตกลงของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) ที่เพิ่มการผลิตในเดือน พ.ค. 65 ที่ 432,000 บาร์เรลต่อวัน
  • Reuters รายงานอินเดียนำเข้าน้ำมันดิบในเดือน พ.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6% อยู่ที่ 4.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่ ธ.ค. 2563 โดยนำเข้าจากรัสเซียเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 542,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 819,000 บาร์เรลต่อวัน นับเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียรายเดือนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 16.4% ของการนำเข้าน้ำมันโดยรวมของประเทศ

 

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp