ดีแทคประกาศผล 5 ทีมเยาวชน ประชันสุดยอดไอเดีย ใช้เทคโนโลยีจัดกันกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ จากเวทีงาน dtac Young Safe Internet Leaders’ Cyber Camp ปี 4

31

มิติหุ้น  –   หลังจากที่เยาวชนทั้ง 200 คนจากผู้สมัครทั้งหมด 1,178 คน ได้เข้าแคมป์ Young Safe Internet Leader Cyber Camp ใน Metaverse มานานถึง 3 สัปดาห์ ผ่านการเรียนใน bootcamp และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาไอเดียสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ใน Cyber-security sandbox วันนี้ เยาวชนที่มีโครงงานดีที่สุด และสามารถลงมือปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง 5 ทีม ได้รับเลือกให้เป็นทีมผู้ชนะ ได้แก่

  1. ทีมAilurus – เว็ปไซต์ป้องกัน ‘Negative Digital Footprint’ อันใช้ศิลปะเข้ามาเยียวยาจิตใจผู้ใช้งาน

เว็บแอปพลิเคชัน ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาระบายอารมณ์และความรู้สึกผ่านการพิมพ์ข้อความ โดยจะมีเพียงผู้ที่ระบายความรู้สึกเห็นข้อความเหล่านั้นเพียงคนเดียว เพื่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและป้องกันปัญหาเรื่อง Negative Digital Footprint แต่เว็บไซต์ไม่ได้เพียงแค่ให้ผู้ใช้ระบายความรู้สึกเพียงอย่างเดียว โดยเราจะใช้การเปลี่ยนข้อความ Negative ให้เป็นรูปภาพ ซึ่งนำเรื่องของศิลปะเข้ามาดึงดูดและเบี่ยงเบนความสนใจให้ความรู้สึกด้านลบหายไป นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกต่าง ๆ เช่น คำคม กีฬา หนังสือ เพื่อเป็นการสร้างเสียงหัวเราะและเป็นการแนะนำและให้ความรู้กับผู้ที่เข้ามาใช้เว็บไซต์ด้วย

  1. ทีมDon’t leave the door open – นวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขของแพลตฟอร์มยอดฮิตในยุคโควิด-19 เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล

คนมากถึง 92% ไม่อ่านข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้งาน instruction และ manual ที่เยอะแยะหลายหน้า เพราะต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง ทีมนี้จึงเสนอการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบข้อมูลเอาไปวางในหน้าเว็บไซต์นั้น ก่อนที่เข้าไปอ่านข้อกำหนด PS Tac ปลอดภัยได้มากขึ้น PS TaC นวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านทำความเข้าใจข้อกำหนดและเงื่อนไขได้ดียิ่งขึ้น

  1. ทีมDr.pla – ศูนย์กลางความช่วยเหลือที่ไม่มีที่ว่างให้มิจฉาชีพ

ปัญหาการแอบอ้างรับเงินบริจาค ส่วนใหญ่เป็นเงินจำนวนน้อย ผู้บริจาคจึงไม่คิดอะไร เว็บไซต์ช่วยเติมเต็มความช่วยเหลือ โดยการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง และช่วยตรวจสอบรวบรวมผู้รับบริจาค ตัดมิจฉาชีพออกจากวงจรการบริจาค เว็บไซต์ “เติมเต็ม” รวบรวมผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เน้นเป็นที่รายบุคคล(ไม่ใช่องค์กร/กิจกรรม) โดยข้อมูลผู้ต้องการรับบริจาค จะมีการตรวจสอบจากตัวผู้ต้องการรับบริจาค ชุมชน หรือผู้ที่มีข้อมูล เพื่อรับรองว่าต้องการความช่วยเหลือจริงๆ โดยเมื่อผ่านจะมีการนำชื่อ/บัญชี/ยอด/รายละเอียด ลงในเว็ปไซต์ ป้องกันช่องโหว่สำหรับมิจฉาชีพ

  1. ทีม ดีแทคดีใจ- เมืองจำลองของ ‘อาชีพที่ต้องต่อสู้กับการโจมตีทางไซเบอร์’ ในรูปแบบ Metaverse Game

ผลสำรวจจาก ETDA ในปี 2564 พบว่า Gen Z คือกลุ่มคนที่เล่นโซเชียลมีเดียมากที่สุด ซึ่งทำให้มีโอกาสถูกโจตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นเยาวชนทีม ‘ดีแทคดีใจ’ จึงภูมิใจนำเสนอ เกม Simulation ในรูปแบบ Metaverse ที่ให้ผู้เล่นสามารถจำลองการใช้ชีวิตและสถานการณ์การถูกโจมตีทางไซเบอร์ผ่านสาขาอาชีพต่างๆ อาทิ YouTuber Graphic Designer และ Online seller เพื่อให้ผู้เล่นสามารถเรียนรู้วิธีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งนี้ เยาวชนยังชี้ให้เห็นถึง 3 เหตุผลที่เลือกพัฒนาเกมบนโลก Metaverse เพราะเป็นแพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงที่ผู้ใช้งานสามารถจำลองสถานการณ์ได้ดีที่สุด ทั้งยังเป็นสื่อสมัยใหม่ที่มีความน่าสนใจและมีแนวโน้มที่จะมีการเติบโตในอนาคต

  1. ทีม กลัวเสียฟอร์ม เลยยอมเสียเธอ- Bot ‘น้องเตือนใจ’ ตรวจจับเว็ปปลอมได้อย่างทันใจและแม่นยำ

‘น้องเตือนใจ’ Bot ตรวจจับเว็ปปลอมได้อย่างทันใจ เผยให้ dtac Safe Internet เห็นว่า 86.6% ของชาวเน็ตจำนวน 580 คน มีพฤติกรรมไม่ตรวจสอบ URL link ว่าเป็น URL จากมิจฉาชีพหรือไม่ ดังนั้นนวัตกรรมที่ ‘น้องเตือนใจ’ เลือกที่จะนำเสนอ Chatbot ที่จะฝังตัวอยู่ใน Chat Application ที่จะคอยแจ้งเตือนทุกครั้งเมื่อ URL link ปลอมถูกแฝงตัวเข้ามาอยู่ในบทสนทนา

ทั้ง 5 ทีม จะได้รับเงินรางวัลไปต่อยอดพัฒนาไอเดียทีมละ 80,000 บาท รวมรางวัลมูลค่า 400,000 บาท และดีแทค จะยังทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้ทุกทีมสามารถพัฒนาต่อยอดไอเดีย สู่การปฏิบัติได้จริงต่อไป

โดยคณะกรรมการที่ร่วมตัดสินในงาน 4 ท่าน ประกอบด้วย คุณทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด คุณกัลยา โกวิทย์วิสิทธิ์ Co-Founder FabCafe Bangkok, Creative Digital Hub พื้นที่ปล่อยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร Social Innovation Specialist จาก Change Fusion และ คุณรัชญา กุลณพงษ์  ผู้อำนวยการ ฝ่ายความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค โดยการตัดสินครั้งนี้ พิจารณาคัดเลือกทีมผู้ชนะ 5 ทีมที่มีความน่าสนใจของนวัตกรรมสร้างสรรค์ ทักษะหรือเทคนิคที่ใช้ มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ประโยชน์ที่ได้รับ และมีศักยภาพในการเติบโต การต่อยอดหรือมีโอกาสขยายผลได้ในระยะยาว

นอกจากนี้ ยังมีทีมเยาวชนที่ร่วมนำเสนอไอเดียที่น่าสนใจอีก 5 ทีม ที่นำเสนอในงาน ได้แก่

  1. 8สหาย84000เซลล์– เชื่อมต่อเทคโนโลยี Biometric กับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข

การยืนยันตัวตนผ่านลายนิ้วมือ โดยเมื่อสแกนลายนิ้วมือแล้วจะแสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ได้รับบาดเจ็บกรณีที่หมดสติหรือเสียชีวิต ในลิงค์ข้อมูลที่มีการป้องกันการบันทึกภาพหน้าจอ เพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลหรือที่เราเรียกกันว่า data privacy ที่มีข้อมูลมาจากโรงพยาบาล บริษัทเกี่ยวกับประกันสังคมประกันชีวิต และสถานีตำรวจ โดยลิงค์จะส่งให้ภายในไลน์แชทบอทที่มีชื่อว่า MIS ซึ่งย่อมาจาก Medical Intelligent Scan เพื่อความสะดวกต่อการใช้งานของเจ้าหน้าที่กู้ภัยและอาสา

  1. CyberGOAT– แอปพลิเคชั่นที่จะพาผู้ใช้งานท่องโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรูปแบบเกม 3 มิติ

Go! Go! Cyber Boy หนุ่มน้อยพิทักษ์ไซเบอร์ ” เป็นแอปพลิเคชั่นส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบของเกม 3 มิติ ที่จะให้ผู้เล่นควบคุมตัวละครไปศึกษาความรู้เกี่ยวกับภัยร้ายจากโลกไซเบอร์ที่จะเเบ่งเนื้อหาออกเป็นสถานีย่อย ๆ ตามเกาะต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องไซเบอร์กับ 5 ฐาน คือ สถานีเว็บจริง เว็บปลอม ให้ผู้เล่นตัดสินสินใจเลือก สถานีรหัสผ่านปลอดภัย สถานีข่าวปลอม ดึงดูดให้การเรียนรู้น่าสนใจมากขึ้น พร้อมทั้งเล่นเกมเพื่อทดสอบความเข้าใจหลังจากการเรียนรู้  ออกแบบมาให้ใช้งานบนอุปกรณ์พกพา สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ดึงดูดให้การเรียนรู้น่าสนใจมากขึ้น นอกจากเหมาะกับเยาวชนแล้ว ยังเหมาะกับคนหลายกลุ่ม รวมทั้งองค์กรใหญ่สามารถนำมาปรับในการอบรมกับพนักงานได้

  1. Secure Security Society (SSS)– คอมมิวนิตี้ของคนรักกิจกรรมที่มอบ Reward ในรูปแบบ NFT certificate

“ตอกเสาเข็มพิพิธภัณฑ์ให้ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อที่เด็กและเยาวชนจะสามารถสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์สังคม สังคมสร้างสรรค์สัมพันธ์”  วลีเด็ดจาก “Youthkub” แพลตฟอร์มรวบรวมกิจกรรมหลากหลายรูปแบบสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่เพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานโดยสามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้จัดกิจกรรมได้อย่างละเอียด จึงถือเป็นแพลตฟอร์มที่จบ ครบ ในที่เดียว ช่วยทำให้ผู้ใช้งานประหยัดเวลาโดยไม่ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารของกิจกรรมหลายช่องทาง และที่สำคัญยังนำเทคโนโลยี Blockchain ออกเกียรติบัตรในรูปแบบ NFT ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเกียรติบัตรอีกด้วย

  1. Kab kab– ควิซ ‘Cyberpath’ วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ผ่านประเด็น Cybersecurity

จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถทำให้ทุกคนมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้นด้วย “CyberPath” เว็ปแอพพลิเคชั่นที่นำเสนอในรูปแบบ quiz game ที่จะวิเคราะห์จุดแข็ง จุดออ่อน และทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของผู้ใช้งาน พร้อมทั้งแนะนำความรู้จุดที่ผู้ใช้งานยังมีช่องโหว่ เผื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอยู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย

  1. นํ้าไหลไฟดูด– ซอฟต์แวร์ที่จะปกป้องทุกคนให้ปลอดภัยจาก Phishing

ในปี 2020 มีเหยื่อที่โดน phishing ในประเทศไทยกว่า 247,621 คน เยาวชนทีมน้ำไหลไฟดูดจึงออกแบบซอฟท์แวร์ “PhishFiona” ที่จะปกป้องทุกคนให้ปลอดภัยจาก phishing เพียงแค่คลิกติดตั้งระบบก็จะสามารถตรวจสอบ URL browser ได้อย่างทันที อีกทั้งซอฟต์แวร์ยังสามารถรายงานลิงค์ปลอมเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งเยาวชนทีมน้ำไหลไฟดูดยังมองเห็นโอกาสที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับกลุ่มคนที่พิการทางสายตาอีกเช่นกัน เยาวชนทีมน้ำไหลไฟดูดเชื่อมั่นว่า “ซอฟต์แวร์ของเราจะลดผู้ที่ถูกหลอกได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นจำนวน 173,000 คน

เบื้องหลังเส้นทางความสำเร็จของแกนนำเยาวชนอินเทอร์เน็ต เยาวชนได้ใช้เวลาร่วมกันกว่า 504 ชั่วโมง ใจกลางแพลต์ฟอร์ม Metaverse ที่ชื่อว่า The Cybersecurity Sandbox ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ระดมไอเดียและพัฒนาโครงการร่วมกับเพื่อนในค่าย ทดลองกระบวนงานทำงานแบบ Startup ตั้งแต่กระบวนการสร้างทีม (Team matching) กระบวนคิดเชิงออกแบบ(Design thinking) ด้วยการใช้ Business Model Canvas และการเสนอความคิดแบบ pitching เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการในวัน Demo Day  พร้อมได้รับการโค้ชชิ่งใน cyber-security sandbox ที่ช่วยให้ทั้งโค้ชและเยาวชนสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

@mitihoonwealth

https://lin.ee/cXAf0Dp