บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดขายกองทุน KKP S-PLUS 20-27 เม.ย. นี้

24

มิติหุ้น   –  นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัดเปิดเผยว่า “ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในปีนี้ ได้รับแรงกดดันจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐกลับเป็นขาขึ้นและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับจากต้นปีที่ร้อยละ 1.99 เป็นร้อยละ 2.59 ตามทิศทางการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลแทนพันธบัตรสหรัฐ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงอายุไม่เกิน ปี ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ช่วงร้อยละ 0.5 – 0.6 สอดคล้องกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ที่ ระบุว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล จึงยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทาง บลจ.เกียรตินาคินภัทรเห็นว่า กลยุทธ์การลงทุนตราสารหนี้ไทยที่เหมาะสมในช่วงนี้ คือการเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นซึ่งจะช่วยลดความผันผวนจากแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้น และการเลือกลงทุนในหุ้นกู้เอกชนไทยคุณภาพดีเป็นสัดส่วนหลักของพอร์ตซึ่งจะสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้ จึงได้นำเสนอกองทุน เคเคพี สมาร์ท พลัส ซึ่งมีกลยุทธ์สอดรับกับสภาพตลาดดังกล่าวเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุนไทย” นายยุทธพล กล่าว
 
จุดเด่นกองทุน KKP S-PLUS คือการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อเพิ่มผลตอบแทน (Yield Enhancement) ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่กำหนด โดยลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีปัจจัยพื้นฐานและมีฐานะทางการเงินดี ทั้งในด้านสภาพคล่องระยะสั้น และเสถียรภาพระยะยาว ผ่านการวิเคราะห์ตราสารหนี้แบบเข้มข้น รวมถึงผู้จัดการกองทุนยังให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในด้านขาลงโดยคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ บลจ.เกียรตินาคินภัทรมีความเชี่ยวชาญในการบริหารกองทุนตราสารหนี้ โดยกองทุน KKP ACT FIXED เพิ่งได้รับรางวัลกองทุนตราสารหนี้ยอดเยี่ยม ประเภทตราสารหนี้ระยะปานกลาง/ยาว (Mid/Long Term Bond) จาก Morningstar Thailand Fund  Awards 2022 และบลจ.ยังได้รับรางวัลบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนดีเด่น (Outstanding Asset Management Company) จาก SET Awards 2021 อีกด้วย
 
สำหรับกองทุน KKP S-PLUS เป็นกองทุนตราสารหนี้เชิงรุก มุ่งลงทุนในทั้งตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและตราสารหนี้ของบริษัทเอกชน โดยตราสารหนี้ของบริษัทเอกชนที่ลงทุนจะต้องได้รับการจัดอันดับของตราสารหรือผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับ Investment Grade ขึ้นไป และมีเป้าหมายอายุเฉลี่ยกองทุน (Duration) ไม่เกิน 1 ปี และกองทุนอาจลงทุนในตราสารต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 79 ของ NAV โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชี  โดยมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด คือไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้กับผู้ลงทุน
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp