เครดิต สวิส เผยรายงานมูลค่าผลตอบแทนการลงทุนระดับโลกประจำปี 2565

27

มิติหุ้น – รายงานมูลค่าผลตอบแทนการลงทุนระดับโลกของเครดิต สวิส (Credit Suisse Global Investment Returns Yearbook) เป็นคู่มือสำหรับการศึกษาผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวในอดีตที่ผ่านมา ด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยเครดิต สวิส กับ London Business School รายงานฉบับนี้ครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับหมวดหมู่สินทรัพย์หลักทั้งหมดใน 35 ประเทศ (รวมถึง 3 ตลาดใหม่ในปีนี้) โดยตลาดส่วนใหญ่เหล่านี้ รวมทั้งดัชนีชี้วัดจากทั้งหมด 90 ประเทศทั่วโลก มีข้อมูลครบ 122 ปี นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2443

ข้อมูลสำหรับประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2519 ยกเว้นตราสารหนี้ที่เริ่มเมื่อปีพ.ศ. 2523 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเริ่มทำการซื้อขายเมื่อปีพ.ศ. 2518 และต่อมาได้กลายเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียนตามมูลค่าตลาดและเป็นตลาดทุนที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 25 ของโลก โดยการเงินและพลังงานคิดเป็นร้อยละ 34 ของมูลค่าตลาดของดัชนี FTSE World Thailand โดยตลาดหุ้นไทยได้รับผลตอบแทนจากสกุลเงินท้องถิ่นที่แท้จริงเฉลี่ยร้อยละ 7.3 ต่อปี นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519

มุมมองในระยะยาว

  • หุ้นให้ผลตอบแทนดีที่สุดในระยะยาว ในช่วง 122 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกได้ให้ผลตอบแทนตามจริงในแต่ละปีสูงถึงร้อยละ 5.3 ในขณะที่ตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนร้อยละ 2.0 และพันธบัตรให้ผลตอบแทนร้อยละ 0.7 ต่อปี
  • หุ้นยังคงให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นกว่าตราสารหนี้ พันธบัตร และอัตราเงินเฟ้อใน 35 ประเทศ โดยในปีพ.ศ. 2443 ตลาดหุ้นทั่วโลกให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรถึงร้อยละ 4.6 และสูงกว่าตราสารหนี้ถึงร้อยละ 3.2 ต่อปี
  • ในอนาคต ผู้เขียนคาดการณ์ว่าส่วนชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นสามัญจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5 ซึ่งต่ำกว่าในอดีตที่ผ่านมาเล็กน้อยที่ร้อยละ 4.6
  • ด้วยส่วนชดเชยร้อยละ 5 นักลงทุนในหุ้นทุนยังคงคาดหวังที่จะเพิ่มเงินเป็นสองเท่าในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นในอีก 20 ปี
  • ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2443 สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ด้วยผลตอบแทนตามจริงเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7 ต่อปี โดยส่วนแบ่งในตลาดหุ้นทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าที่ร้อยละ 60
  • ในอดีตที่ผ่านมา การกระจายความเสี่ยงในหุ้น ประเทศ และสินทรัพย์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงของการลงทุนกับผลตอบแทนที่ได้รับ (Risk-Return Tradeoff) มีอัตราส่วนที่สูงขึ้นอย่างมาก และในอนาคตก็ยังคงให้ผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน

ข้อควรสังเกตในระยะสั้น: วัฏจักรอัตราเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

  • ในปีพ.ศ. 2563 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของ 21 ประเทศในรายงานซึ่งมีประวัติทางการเงินในอดีตที่ผ่านมานับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2443 อยู่ที่ร้อยละ 4 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2477 และในปีพ.ศ. 2564 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.4
  • เงินเฟ้อเป็นปัญหาหลัก โดยในสหรัฐอเมริกาเงินเฟ้อสูงเกินร้อยละ 7 ส่วนในสหราชอาณาจักรและเยอรมนีอยู่ที่ร้อยละ 5
  • รายงานยืนยันว่าตราสารหนี้มีมูลค่าต่ำในช่วงของเงินเฟ้อ แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงก็ส่งผลกระทบต่อหุ้นด้วยเช่นกัน
  • ตราสารทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ กล่าวคือผลตอบแทนตามจริงของตราสารทุนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราเงินเฟ้อ
  • อย่างไรก็ตาม หากกล่าวถึงส่วนชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นสามัญ หุ้นก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับสถานการณ์เงินเฟ้อ
  • ข้อกังวลในปัจจุบันไม่ใช่แค่เงินเฟ้อเพียงเรื่องเดียว แต่ยังรวมถึงนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วย
  • ในศตวรรษที่ผ่านมา ผลตอบแทนสินทรัพย์ระยะยาวในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรอยู่ในสภาวะตกต่ำในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
  • หุ้นสหรัฐให้ผลตอบแทนตามจริงรายปีที่ร้อยละ 3 ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เมื่อเทียบกับร้อยละ 7 ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาลง
  • ตราสารหนี้สหรัฐให้ผลตอบแทนจริงต่อปีที่ 2 ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เมื่อเทียบกับร้อยละ 3.7 ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ
  • สหราชอาณาจักรมีวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเหมือนกับสหรัฐอเมริกา
  • ในช่วงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การระบุสินทรัพย์ที่ดีนั้นเป็นเรื่องยาก
  • ผลตอบแทนจากอุตสาหกรรม ผลตอบแทนจากการเสี่ยง และผลตอบแทนสินทรัพย์ระยะยาวที่แท้จริงจะลดลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

ในปีนี้คณะผู้เขียน ศาสตราจารย์ Elroy Dimson นักประวัติศาสตร์ทางการเงินที่มีชื่อเสียง, ศาสตราจารย์ Paul Marsh และ ดร. Mike Staunton ได้วิเคราะห์ความสามารถของการกระจายความเสี่ยงในหุ้น ประเทศ และกลุ่มสินทรัพย์ รวมถึงความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญทั้งหมดระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้

การกระจายความเสี่ยง

  • การกระจายความเสี่ยงช่วยลดความเสี่ยง นักลงทุนสามารถได้รับผลตอบแทนเช่นเดิมที่ความเสี่ยงต่ำกว่า หรือได้รับผลตอบแทนมูลค่าที่สูงขึ้นโดยมีความเสี่ยงเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้โต้แย้งคำกล่าวที่ว่าการมีหลักทรัพย์ 10-20 หลักทรัพย์สามารถรับประกันการกระจายความเสี่ยงได้ดี
  • สภาวะในปัจจุบันที่มีความผันผวนและมีการสับเปลี่ยนของกลุ่มลงทุนหรือการหมุนเวียนเงินลงทุนที่สูงขึ้น เป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับนักลงทุนที่มีความกระตือรือร้น แต่ในการสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มของหลักทรัพย์ หรืออัลฟ่านั้น จำเป็นต้องใช้ทักษะอย่างมากและต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น
  • โลกาภิวัตน์ทำให้การลงทุนในต่างประเทศเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในต่างประเทศสร้างอัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงเทียบกับผลตอบแทน (Risk Reward Ratio) สูงกว่าการลงทุนภายในประเทศ ในประเทศส่วนใหญ่
  • อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อยกเว้นบางประการ ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกานักลงทุนน่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในประเทศได้ดีกว่านอกประเทศ สะท้อนผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมและความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐที่ลดลง
  • ในอนาคต ผู้เขียนแนะนำนักลงทุนจากทุกประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ให้ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ (Portfolio Risk) และเพิ่มอัตราส่วนผลตอบแทนส่วนเกินต่อส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Sharpe Ratio) ให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่ได้รับรองว่าสิ่งที่กล่าวนั้นจะเกิดขึ้นจริง
  • นักลงทุนจากตลาดขนาดเล็กและตลาดเกิดใหม่จะได้รับผลตอบแทนจากการกระจายความเสี่ยงทั่วโลกสูงกว่านักลงทุนที่มาจากตลาดประเทศพัฒนาแล้ว แต่นักลงทุนจากตลาดประเทศพัฒนาแล้วก็ยังควรแสวงหาการลงทุนในตลาดเกิดใหม่
  • นอกจากนี้ การกระจายความเสี่ยงข้ามกลุ่มสินทรัพย์ยังช่วยลดความเสี่ยงได้ ความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้เชิงลบตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ทำให้หุ้นและตราสารหนี้สามารถป้องกันความเสี่ยงของกันและกันได้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่แนะนำให้นักลงทุนอาศัยความต่อเนื่องของความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้เชิงลบนี้
  • ผู้เขียนยังแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในตลาดหมี (Bear Market) และในช่วงวิกฤต แต่สรุปว่า ปัจจัยระยะสั้นดังกล่าวไม่ควรเป็นปัญหาใหญ่สำหรับนักลงทุนระยะยาว

ไฮไลท์สำคัญของตลาดเอเชียแปซิฟิ

จีน

ในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก มากกว่า 1.3 พันล้านคน ปัจจุบันจีนมี GDP ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเมินจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินด้วยความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (PPP) ตลาดหุ้นจีนได้รับผลตอบแทนจากสกุลเงินท้องถิ่นที่แท้จริงร้อยละ 4.3 ต่อปี นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536

ญี่ปุ่น

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้รับผลตอบแทนจากสกุลเงินท้องถิ่นที่แท้จริงร้อยละ 4.3 ต่อปี นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2443 โดยญี่ปุ่นยังคงเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งมีตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกและตลาดพันธบัตรที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเป็นผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยี รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร และหุ่นยนต์ สามารถเห็นได้จากสัดส่วนของตลาดทุนของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นคิดเป็นร้อยละ 25 ของดัชนี FTSE World Japan ในขณะที่กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยอยู่ที่ร้อยละ 23

สิงคโปร์

ข้อมูลของเราสำหรับสิงคโปร์มีขึ้นในปีพ.ศ. 2509 ยกเว้นตราสารหนี้ที่มีในปีพ.ศ. 2531 ปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ถือเป็นตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีภาคการเงินคิดเป็นร้อยละ 49 ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของดัชนี FSTE Singapore ตลาดหุ้นสิงคโปร์ได้รับผลตอบแทนจากสกุลเงินท้องถิ่นที่แท้จริงร้อยละ 5.5 ต่อปี นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2509

กลุ่มประเทศในรายงานประจำปีฉบับนี้คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 95 ของตลาดหุ้นโลกในปีพ.ศ. 2443 ซึ่งรวมถึงตลาดใหม่ 12 ประเทศในปีพ.ศ. 2564 และ 2565 รายงานประจำปีนี้ครอบคลุมตลาดการลงทุนทั่วโลกถึงร้อยละ 98.7 ตามข้อมูลปัจจุบัน โดยประเทศใหม่ที่เปิดตัวในปีพ.ศ. 2565 ได้แก่ อาร์เจนตินา ชิลี และกรีซ นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังรวมดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ (Composite Index) ของแต่ละประเทศทั่วโลก รวมถึงดัชนีทั่วโลกที่ไม่รวมสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตลาดประเทศพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ ดัชนี Composite Index ประกอบด้วยสกุลเงินสำคัญ รวบรวมข้อมูลหุ้นครบ 122 ปี และปัจจุบันครอบคลุมหุ้นทั่วโลกแบบออนไลน์อย่างครบถ้วน

รายงานมูลค่าผลตอบแทนการลงทุนระดับโลกประจำปีประกอบด้วย 9 หมวดสำคัญ โดยหมวดที่ 1-8 เป็นเรื่องของผลตอบแทนสินทรัพย์ระยะยาว สกุลเงิน ความเสี่ยงและค่าชดเชยความเสี่ยง ผลตอบแทนที่คาดหวัง การลงทุนแบบ Factor Investing และการกระจายความเสี่ยง ส่วนหมวดที่ 9 จะเป็นเรื่องสถิติของตลาดสำคัญทั้ง 35 ตลาดและดัชนี Composite Index 5 รายการซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญของรายงานประจำปีนี้

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp