‘พรินซิเพิล’ จับจังหวะออกทริกเกอร์ฟันด์เวียดนาม มองหุ้นเวียดนามแข็งแกร่งท่ามกลางตลาดโลกผันผวน

34

มิติหุ้น  –  นายศุภกร ตุลยธัญ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ในสภาวะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนสูง ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดที่มีความน่าสนใจต่อการลงทุน ด้วยศักยภาพของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดย IMF ได้คาดการณ์ว่าในปี 2565 เศรษฐกิจของเวียดนามจะกลับมาเติบโตได้ที่ระดับ 6.63สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้เศรษฐกิจเวียดนามยังมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางปัจจัยลบที่กระทบกับตลาดหุ้นหลายประเทศ โดยที่ผ่านมาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่สามารถรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจให้เป็นบวกได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 มีความรุนแรง 

            ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามได้แก่ การเคลื่อนย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่างชาติ และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรชนชั้นกลางซึ่งสะท้อนออกมายังการบริโภคภายในประเทศที่เร่งตัวขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันเวียดนามถือเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ที่มีสัดส่วนเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ต่อ GDP สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตจากสิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศที่เวียดนามมีอยู่ เช่น CPTPP, RCEP และ EVFTA ที่ทำให้เวียดนามมีความน่าสนใจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ อีกทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 3.5 แสนล้านดอง หรือประมาณ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งครอบคลุมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ธนาคารกลางเวียดนามยังมีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4% ตลอดทั้งปีนี้ นอกเหนือจากนั้นประเทศเวียดนามได้ประกาศยกเลิกยกเลิกการใช้มาตรการกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศเพียงแค่แสดงผลตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นลบ โดยคาดว่าภาคท่องเที่ยวที่มีการทำรายได้ประมาณปีละ 32,000 ล้านดอลลาร์ก่อนหน้าการระบาด จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศเวียดนาม

            ในส่วนของตลาดหุ้นเวียดนามมองว่ายังคงมีความน่าสนใจอยู่มาก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศกำลังพัฒนาอื่น ในช่วงปี 2563 -2564 ที่ผ่านมาตลาดหุ้นเวียดนามสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญจากเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนรายย่อย และคาดว่าเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติจะกลับมาให้ความสนใจกับตลาดเวียดนามเนื่องจากเป็นเศรษฐกิจที่มีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตที่โดดเด่น ซึ่งหากได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติก็จะยิ่งทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามมีแนวโน้มที่ดี ในปัจจุบันตลาดหุ้นเวียดนามมีระดับ valuation ที่ไม่แพงและมีอัตราการเติบโตของกำไรที่โดดเด่น โดยจากการประเมิน valuation แบบ Forward P/E อยู่ที่ประมาณ 14 เท่า และ EPS Growth หรืออัตรากำไรต่อหุ้นในปี 2565 ในระดับมากกว่า 20% จึงทำให้หุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจอย่างมากในการนำเสนอกองทุนในรูปแบบของทริกเกอร์ฟันด์

            อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญและติดตามอย่างใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็น 1) ทิศททางการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ Fund Flows จากนักลงทุนต่างชาติ 2) สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน 3) การเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามที่อาจกดดันให้ธนาคารกลางเวียดนามต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ และ 4) แนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินบาทที่อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกองทุนรวม 

            นายศุภกร กล่าวอีกว่า จากแนวโน้มของเศรษฐกิจที่ดี และจากความเชี่ยวชาญในการบริหารกองทุนของเรา พรินซิเพิลจึงเห็นโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม ล่าสุดเตรียมเปิดตัว “กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม ทริกเกอร์ 7M1” หรือ Principal Vietnam Trigger 7MFund (PRINCIPAL VNTG7M1) ทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท เตรียมเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 28 มีนาคม – 5 เมษายน 2565 สั่งซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยเป็นกองทุนผสมที่เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธุรกิจหลักในเวียดนาม หรือได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม และมีรูปแบบเป็น Trigger Fund ที่ไม่กำหนดอายุกองทุน แต่จะมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตามเงื่อนไข ดังนี้ 

ครั้งที่ 1 เมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ตํ่ากว่า 10.35 บาท และทรัพย์สินของกองทุนที่จะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติจะต้องเป็นเงินสดหรือตราสารสภาพคล่องในสกุลบาทเพียงพอที่จะชำระค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติในส่วนของผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราร้อยละ 3.50 ของมูลค่าที่ตราไว้ (10 บาท) (หรือเท่ากับ 0.35 บาท/หน่วย) โดยบริษัทจัดการจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติเมื่อกองทุนมีมูลค่าไม่ตํ่ากว่า 10.35 บาท เพียงครั้งเดียวนับตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทุน 

ครั้งที่ 2 เมื่อเกิดเหตุตามเงื่อนไขการเลิกกองทุน คือ เมื่อกองทุนมีมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 10.75 บาท และ บริษัทจัดการสามารถรวบรวมเงินสดหรือตราสารสภาพคล่องในสกุลบาทได้เพียงพอเพื่อรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ระบุในโครงการ อย่างไรก็ตาม อัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการเลิกกองทุนเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามเงื่อนไขการเลิกกองทุน เมื่อคำนวณเป็นมูลค่าต่อหน่วยลงทุนอาจมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าหน่วยลงทุนที่กำหนดตามเงื่อนไขการเลิกโครงการ ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะไม่สามารถขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลา 7 เดือนแรกนับตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทุน และกรณีที่ไม่เกิดเหตุการณ์ตามเงื่อนไขในระยะเวลา เดือน บริษัทจัดการจะเปิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอีกครั้งในวันทำการแรกถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลา

            กองทุนเปิด PRINCIPAL VNTG7M1 มีแนวทางบริหารพอร์ตการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Management) โดยทีมบริหารกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมด้วยความร่วมมือกับทีม Principal ในระดับภูมิภาค เพื่อคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพดี สามารถสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ผ่านการพิสูจน์ผลงานจากทีมผู้จัดการกองทุนที่บริหารกองทุนเปิด PRINCIPAL VNEQ ซึ่งมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง ปีที่ 52.62% ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่โดดเด่นอันดับ 1 ในกลุ่มกองทุนหุ้นเวียดนามในประเทศไทย (Source: Morningstar ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564)

            กองทุนดังกล่าวแบ่งกลยุทธ์การลงทุนออกเป็น การสร้างผลตอบแทนแบบ Passive ETF และการบริหารจัดการพอร์ตแบบ Active Management โดยสัดส่วนประมาณ 50% จะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน ETF ตลาดหุ้นเวียดนาม เช่น กองทุน VN30 ETF ที่เป็นการลงทุนในหุ้นเวียดนามชั้นนำ 30 บริษัทแรกที่มีขนาดใหญ่และสภาพคล่องดีในตลาดหลักทรัพย์ โฮจิมินห์ ในขณะที่อีกประมาณ 50% จะเน้นลงทุนในหุ้นรายตัวด้วยการคัดเลือกแบบ High Conviction จากบริษัทที่มีพื้นฐานดี กำไรเติบโต (Fundamentals) มีแนวโน้มของราคาที่ดี (Momentum) และมูลค่าของหุ้นอยู่ในระดับที่น่าสนใจ (Valuation) ยกตัวอย่างเช่น Masan Group Corporation บริษัท holding company ที่มีชื่อเสียงในเวียดนาม และ Vinhomes Joint Stock Company ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในเวียดนาม เป็นต้น

ทั้งนี้ กองทุนเปิด PRINCIPAL VNTG7M1 เตรียมเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) วันที่ 28 มี.ค. – 5 เม.ย. 2565  มูลค่าสั่งซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืน และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด โทร. 02 686 9595 หรือ www.principal.th หรือ Principal TH Mobile App 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp