14-18 กุมภาพันธ์ 2565 การปะทะกันระหว่าง TD SELL#9 VS FUND FLOW

196

ผู้ใช้ TD SEQUENTIAL จะอ่านสัญญาณเตือนตลาดอ่อนกำลังได้ ตั้งแต่ 9 กุมภาพันธ์ วันเดียวกับที่ปู่เซตพุ่งทะยานไปทำจุดสูงสุดในรอบหลายๆปีที่ 1708.03 จุด

สื่อการลงทุนต่างๆ ให้ข้อมูลเชิงบวกที่สดใสต่อตลาดหุ้นไทย มีการพูดถึง 1800 จุด หรือ การทำ ALL TIME HIGH ส่วนผมได้แต่นั่งปวดหัว จนต้องหาอะไรมาคาดเอาไว้ ให้คลายกังวล เพราะสัญญาณที่เห็นตรงหน้า บอกว่าให้เฝ้าระวัง!! ปู่เซตกำลังวิ่งเข้าสู่ #โซนอ่อนกำลังทางขึ้น การพักตัว หรือ

การกลับตัวเป็นลงกำลังจะตามมาในไม่ช้า

ไม่ใช่สิ! มันต้องไม่ใช่สิ! ผมเริ่มตีลังกาหาสัญญาณอื่นๆ ที่จะช่วยดันปู่เซตไปทำ ALL TIME HIGH ตามที่เค้าว่า แต่เมื่อลาก FIBONACCI PROJECTION กลับได้รูปแบบ BEARISH ABCD หรือ แนวต้านแบบสมมาตร AB=CD

ความหมายที่อ่านได้คือเจอแนวต้านที่มีนัยสำคัญเข้าให้แล้ว โอกาสพักตัวเมื่อเจอแนวนี้มีมากกว่าการทะลุผ่านขึ้นไป

ไม่ว่าเสียงปืนนัดแรกจากรัสเซียหรือยูเครนจะเกิดขึ้นหรือไม่ ไม่ว่าตัวเลขผู้ป่วยจะทะลุ 2 หมื่นรายตามที่สื่อต่างๆประเมินเอาไว้ ไม่ว่า FED จะ HAWKISH รุนแรงมากขึ้นเพียงไหน ในการประชุมที่จะมาถึง

TD SELL #9 เตือนเราไว้ล่วงหน้าแล้วครับ

ปล.ขอให้ฟันด์โฟลว์ชนะพี่เก้าในรอบนี้…ผมคิดแบบนี้จริงๆนะ

 

อย่างไรก็ตามด้วยฟันด์โฟลว์ที่หนุนตลาดต่อเนื่อง การพักตัวของตลาดคือโอกาสครับ

 

รวม 23 บริษัทลงทุนตามกระแสคริปโต

1. บมจ.เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี (AJA) ประกาศลงทุนในธุรกิจเหมืองขุดบิทคอยน์ (Bitcoin Mining) โดยทยอยจัดซื้อเครื่องขุดฯ จำนวน 200 เครื่อง งบลงทุนรวมไม่เกิน 900 ล้านบาท

2. บมจ.แอสเซทไวส์ (ASW) ตั้งบริษัทย่อยเพื่อศึกษาและลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเน้นที่เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)

3. บมจ.บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป (BROOK) ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ ทั้งเหรียญที่มีความมั่นคงทางมูลค่า (Stablecoin) เช่น บิทคอยน์ อีเธอเรียม (Ethereum) ไบแนนซ์ (Binance) ฯลฯ และเหรียญที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น รวมถึงมีแผนลงทุนในเหมืองขุดเหรียญฯ

4. บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (CGH) เข้าถือหุ้น “คริปโตมายด์ กรุ๊ป” 25% ตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนโครงการสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse

5. บมจ.โคแมนซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (COMAN) ตั้งบริษัทย่อยลงทุนธุรกิจเหมืองขุดสกุลเงินดิจิทัล (คริปโทเคอร์เรนซี) เพื่อจำหน่ายต่อ

6. บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) จับมือพันธมิตรเปิดตลาดขายเพลงบน NFT (ขายเพลงด้วยสัญญาบล็อกเชน)

7. บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ส่งบริษัทย่อยจับมือกับกลุ่ม Binance เพื่อศึกษาและจัดทำแผนธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange)

8. บมจ.เจ มาร์ท (JMART) ออกเหรียญ JFIN Coin ใช้ในระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในเครือ

9. บมจ.จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น (JTS) ปรับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อรองรับการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต รวมถึงลงทุนธุรกิจเหมืองขุดบิทคอยน์

10. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) บริษัทย่อย “คิวบิกซ์” (Kubix) ได้รับใบอนุญาตผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ขณะที่อีกหนึ่งบริษัทย่อย “บีคอน เวนเจอร์” (beacon) เข้าลงทุนในคริปโตมายด์ กรุ๊ป

11. บมจ.เอ็ม วิชั่น (MVP) ขายหุ้นเพิ่มทุนแก่บุคคลในวงจำกัด (PP) โดยจะนำเงินที่ได้ไปใช้ขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล

12. บมจ.เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ตั้งบริษัทย่อยในสหรัฐเพื่อลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงธุรกิจเหมืองขุดคริปโทฯ

13. บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) เตรียมออกเหรียญ P COIN เพื่อเป็นเหรียญอรรถประโยชน์ (Utility Token) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ประกาศรับชำระค่าบ้านด้วยคริปโทฯ 3 สกุลหลัก ได้แก่ บิทคอยน์ อีเธอเรียม และเทเทอร์ (Tether)

14. บมจ.อาร์เอส (RS) เปิดตัวเหรียญ Popcoin เพื่อใช้ใน Ecosystem ของบริษัท เช่น การซื้อสินค้าและบริการ โดยมีแผนต่อยอดแคมเปญต่างๆ ในอนาคต

15. บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) ตั้งบริษัทย่อยลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงคริปโทเคอร์เรนซี ปัจจุบันอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.ล.ต.

16. ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ส่งบริษัทย่อย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) ถือหุ้นใน “บิทคับ ออนไลน์” (Bitkub Online) ผู้ให้บริการเทรดสินทรัพย์ดิจิทัล Bitkub ในสัดส่วน 51%

17. บมจ.แสนสิริ (SIRI) ลงทุนใน บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล (XPG) เพื่อต่อยอดธุรกิจด้านการเงินและหลักทรัพย์ รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล

18. บมจ.ตงฮั้ว โฮลดิ้ง (TH) ประกาศตั้งประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี (CTO) ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อรองรับแผนธุรกิจดังกล่าวในอนาคต

19. บมจ.ยู ซิตี้ (U) มีแผนนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันมาจัดตั้งเป็นกองทรัสต์ (REITs)

20. บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) อยู่ระหว่างศึกษาออกโทเคนดิจิทัลทั้ง Utility Token และโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) เพื่อใช้ประโยชน์ในกลุ่มธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภคที่มีรายได้ประจำ

21. บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล (XPG) ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลครบวงจร ทั้งผู้ค้าโทเคนดิจิทัล นายหน้าโทเคนดิจิทัล ICO Portal นายหน้าคริปโทฯ และผู้ค้าคริปโทฯ โดยเป็นที่ปรึกษาในการออกและเสนอขาย “โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับ” (SiriHub Investment Token) ซึ่งเป็นโทเคนดิจิทัลแรกของไทย

22. บมจ.ซิก้า อินโนเวชั่น (ZIGA) ลงทุนธุรกิจเหมืองบิทคอยน์ ตั้งเป้าหมายขยายกำลังการขุดเป็น 1,400-1,500 เครื่องในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ จากเริ่มต้นที่ 200 เครื่อง และตั้งเป้าหมายระยะยาวเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 1 แสนเครื่อง

23. บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค (ECF) อนุมัติบริษัทย่อย อีซีเอฟโฮลดิ้ง จำกัด (ECHF) เข้าลงทุนในธุรกิจเหมืองขุดดิจิตอล ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 80 ล้านบาท เพื่อซื้อเครื่องขุดสกุลเงินดิจิทัล และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดจะทยอยลงทุนจนครบมูลค่าภายในไม่เกินสิ้นปี 2566

 

อ้างอิง หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (เพิ่ม บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค) โดยทางเพจ ม้าเฉียว ดูหุ้น The Future

@mitihoonwealth

https://lin.ee/cXAf0Dp