COP 26 กับทิศทางการก่อสร้างในอนาคต

265

มีเรื่อง “ไกลตัว” ที่สำคัญเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา จนเราอาจจะนึกไม่ถึงว่าเกี่ยวข้องกับวงการก่อสร้างได้อย่างไร หลายๆ ท่านคงได้ยินข่าวว่า คณะผู้แทนประเทศไทย โดยท่านนายกรัฐมนตรี ได้แสดงเจตจำนงในการร่วมแก้ปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 พร้อมกันนี้ประเทศไทยได้แสดงถึงความก้าวหน้าอย่างเหนือชั้นโดย ในปี ค.ศ. 2019 ไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 17% เร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 7% ภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง เท่า หลังให้สัตยาบันเป็นภาคีของความตกลงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 2015 (COP21) นับว่าในวันดังกล่าวที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ประเทศไทยยืนได้อย่างสง่าผ่าเผยประเทศหนึ่งในเวทีโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

สำหรับคนในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาจจะอยากรู้ว่า ประเทศไทยทำอะไรไปบ้างกับเรื่องนี้ เราถึงมาได้ขนาดนี้ แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะทำอะไรต่อไป เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายต่อไป และจะกระทบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างไรในอนาคต

 

มองย้อนกลับไปในช่วง 5 ถึง 6 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 จะเห็นได้ว่า เรามีกิจกรรมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็น Solar Farm หรือโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือโรงไฟฟ้าจากอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ หรือการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน เหล่านี้อาจถือได้ว่า เป็นผู้เล่นสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซ CO2 และก๊าซมีเทน ประกอบกับการเข้ามาอย่างมากขึ้นของรถยนต์ประหยัดพลังงานหลากหลายรูปแบบ

 

นอกจากนี้เทรนด์ของสินค้าหลากหลายชนิด ให้ความสำคัญถึงการปล่อยก๊าซ CO2 ถ้าเราเลือกซื้อรถ
รถแต่ละรุ่นจะแจ้งถึง CO2/km ที่ปล่อยออก ถ้าเราจองตั๋วเครื่องบิน เราจะได้รับแจ้งบนบอร์ดดิ้งพาสว่าเครื่องบินที่เรานั่งปล่อย CO2 กี่มากกี่น้อย ความเข้มข้นของความตั้งใจที่จะลดการปล่อย CO2 นี้ อาจจะทำให้เราเห็นในแบบก่อสร้างว่า อาคารแต่ละหลังปล่อย CO2 มากเท่าไหร่ และต่อไปการประมูลงานก่อสร้างจะต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานที่ลดการปล่อย CO2 ด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจาก ราคา เวลา และคุณภาพ ทิศทางการก่อสร้าง น่าจะมุ่งไปในทิศทางที่เป็น Modular มากขึ้น ใช้เวลาการก่อสร้างน้อยลง ลด overhead ในเชิงของการใช้พลังงานสกปรกมากขึ้น ใช้วัสดุก่อสร้างที่ประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซ CO2 ตั้งแต่วัสดุก่อสร้างจนถึงขั้นตอนก่อสร้างมากขึ้น

 

ปูนซีเมนต์ เป็นวัสดุก่อสร้างที่กระบวนการผลิตปล่อยก๊าซ COค่อนข้างมาก รองมาจากอุตสาหกรรมเหล็ก เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้ความร้อนสูงในการหลอมละลายแร่ธาตุต่างๆ ดังนั้น ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทุกรายในประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกันผลักดันการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เพื่อทดแทนการใช้งานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่นิยมใช้ดั้งเดิม โดยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกจะสามารถลดปริมาณการปล่อย COได้ประมาณ 40 กิโลกรัม/ตันปูนซีเมนต์ที่ทดแทนได้ ถ้าเราสามารถใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ได้ 5.8 ล้านตัน (จากปริมาณการบริโภคประมาณ 35 ล้านตันต่อปี) เราจะลดการปล่อย COได้ถึง แสนตัน COทีเดียว

 

ท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวในการประชุม COP26 ต่อหน้าผู้แทนประเทศต่างๆ กว่า 190 ประเทศ ว่า…เราไม่มีแผนสองสำหรับการลดอุณหภูมิของโลก เพราะว่าเรามีโลกเพียงใบเดียว ซึ่งเป็นบ้านของพวกเรา พร้อมกับคำสัญญาว่า “จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065” ถึงตรงนี้ COP26 ดูเหมือนจะไม่ “ไกลตัว” เพราะเป็นเรื่องบ้านของเราเอง ถ้านักสร้างบ้านอย่างพวกเราไม่ปรับตัว ก็คงต้องหาโลกใหม่อยู่กันละครับ

โดย รศ.ดร. สมิตร ส่งพิริยะกิจ ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา

                     วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp