BANKING เพดานหนี้ ความยั่งยืนและผลต่อธนาคาร

242

มิติหุ้น-บล.ทิสโก้ระบุว่า BANKING เพดานหนี้ ความยั่งยืนและผลต่อธนาคารประเด็นจากการพูดคุยการยกระดับเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70%

• เพดานหนี้ไม่สำคัญเท่ากับความเสี่ยงจากหนี้ เพดานหนี้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเพิ่มความเชื่อมั่นต่อรัฐ ชิ่งสําคัญมากสําหรับประเทศขนาดเล็ก และช่วยเป็นเกณฑ์ราคาสินทรัพย์ในประเทศ

• สิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองไม่ได้อยู่ที่เพดานหนี้มากนัก แต่คือประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นต่อการเติบโตของ GDP โดยเราควรสนใจว่า เพดานหนี้ที่ยังเหลือจะเพียงพอต่อการผลักดันการเติบโตของ GDP ให้กลับมาสู่ระดับ “ปกติ” หรือไม่ และควรติดตามว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจพลักดันให้เกิดการลงทุนมากน้อยเพียงใด เนื่องจากจะ เป็นการฟื้นตัวที่ยั่งยืนกว่าเมื่อเทียบกับโครงการแจกเงินสด ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้ให้แนวทางกว้างๆ สำหรับการกู้ยืม เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การเพิ่มการเติบโตของ GDP เป็น 3-4% นั้นค่อนท้าทาย แม้จะมีแนวโน้มเงินเพื่อเข้า ช่วย ความกังวลด้านความยั่งยืนทางการคลังน่าจะลดลง อย่างน้อยในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า

ประเด็นที่เกี่ยวกับกลุ่มธนาคารคือเชิงปริมาณ (Q) ไม่ใช่ราคา (P) โดยแม้ว่า PD/GDP จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมที่ 41% ก่อนโรคระบาดมาชนเพดานจากมาตรการกระตุ้นต่างๆ แต่เรามองว่าตลาดไม่ได้กังวลต่อความ เสี่ยงที่เพิ่มขึ้น จากการปรับเพิ่มเพดานหนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนตราสารหนี้ภายในประเทศ และไม่กระทบ ผลประกอบการของกลุ่มธนาคาร เนื่องจากผลกระทบต่อดอกเบี้ยที่จํากัด

กลุ่มธนาคารจะได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น และความเสี่ยงด้าน Credit ที่ลดลง นอกจากนี้ สินเชื่อ ภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจะใช้ช่องทางผ่านสินเชื่อของธนาคารเป็นช่องทางหลัก โดย KTB จะเป็นผู้ได้ประโยชน์หลัก แต่จะไม่ ช่วยในด้านผลประกอบการมากนักเนื่องจากคิดดอกเบี้ยที่ 1% เทียบกับ Cost of Funds ที่ 0.75%

เราแนะนําให้ “ซื้อ” SCB และ TTB โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 136.00 บาท และ 1.51 บาท

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp