กรุงศรีเร่งมาตรการเชิงรุกต่อเนื่อง เตรียมปล่อยสินเชื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ ช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

34

มิติหุ้น – นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงศรีเข้าใจถึงปัญหาและสถานการณ์ความท้าทายที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 ที่ยังส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภาคส่วน ซึ่งที่ผ่านมากรุงศรีได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องผ่านมาตรการต่างๆ ของธนาคารเองและตามนโยบายของภาครัฐ โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมากรุงศรีได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติม เป็นระยะที่ ซึ่งครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม สำหรับลูกค้าธุรกิจ ธนาคารได้ทำงานเชิงรุกในการจัดทีมผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ติดต่อกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามสถานการณ์และช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างเหมาะสม โดยที่ผ่านมาธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID19 ไปแล้วกว่า 30,000 ราย เป็นยอดสินเชื่อกว่า 200,000 ล้านบาท” 

“อย่างไรก็ดี จากการร่วมหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ลูกค้าจำนวนมากยังคงอยู่ในภาวะเปราะบางและยังต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่ยังต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพื่อประคับประคองกิจการและรักษาการจ้างงานให้ลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจสามารถก้าวข้ามวิกฤตและกลับมาดำเนินกิจการได้ในอนาคต  กรุงศรีพร้อมขานรับมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมของธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ตามพ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ เพื่อลดภาระหนี้ เสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ในช่วงที่เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ช่วยค้ำประกันให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น” 

​ทั้งนี้ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูของธนาคารจะมุ่งช่วยเหลือทั้งลูกค้าปัจจุบันของธนาคารและลูกค้าใหม่ที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งในนามนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา โดยลูกค้าปัจจุบันสามารถขอสินเชื่อได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อที่มีกับธนาคาร และลูกค้าใหม่สามารถขอสินเชื่อได้สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยนับรวมทุกวงเงินจากทุกสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยพิเศษ คือ 2% ใน ปีแรก และในช่วง เดือนแรกไม่ต้องเสียดอกเบี้ยด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมแล้วอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยใน ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถผ่อนชำระได้นานสูงสุดไม่เกิน 10 ปี รวมทั้งธนาคารจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ จากสินเชื่อฟื้นฟู 

สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงสามารถเข้าร่วมมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ ด้วยการนำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโอนให้ธนาคารเพื่อลดภาระหนี้ อย่างไรก็ตามลูกค้ายังสามารถเช่าทรัพย์เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปได้และยังสามารถซื้อทรัพย์คืนในช่วงเวลา 3ปีได้ ทั้งยังได้รับสิทธิพิเศษฟรีค่าธรรมเนียมการใช้สินเชื่ออีกด้วย ทำให้ไม่ต้องรับภาระต้นทุนทางการเงินชั่วคราวและลูกค้ายังสามารถรักษาทรัพย์สินของตนเองไว้ได้ เพิ่มโอกาสในการกลับมาดำเนินธุรกิจได้ในอนาคต 

ทั้งนี้ นอกจากมาตรการจาก BOT แล้ว กรุงศรียังคงมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจเช่นเดียวกับที่ธนาคารได้สนับสนุนลูกค้าธุรกิจมาโดยตลอดระยะเวลาที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 โดยให้ความช่วยเหลือในหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของแต่ละธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการพักชำระเงินต้น พักชำระค่างวด ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย และปรับประเภทวงเงินสินเชื่อ ซึ่งในขณะนี้ก็ได้มีลูกค้ายื่นความประสงค์ขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากทั้งมาตรการจาก BOT และมาตรการช่วยเหลือของธนาคารมาแล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งธนาคารกำลังเร่งดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ นอกเหนือจากมาตรการช่วยเหลือทางการเงินแล้ว กรุงศรียังคงเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าในการขยายโอกาสทางธุรกิจซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์โควิดที่ลูกค้าประสบความยากลำบากในการรักษายอดขาย โดยธนาคารจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจให้กับลูกค้ากับทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องโดยร่วมมือกับมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) ที่มีเครือข่ายลูกค้าทั่วโลก

กรุงศรีมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เพื่อช่วยต่อยอดกลไกพลวัตของตลาดให้ยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้ นอกจากลูกค้าธุรกิจแล้ว กรุงศรียังได้ช่วยเหลือลูกค้าบุคคลไปพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ ลูกค้าบัตรเครดิต ผ่านมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วรวมกว่า 228,984 บัญชี (ตัวเลข ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564)

www.mitihoon.com