สถานการณ์ตลาดน้ำมัน สัปดาห์ที่ 15-19 มี.ค. 64 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 22-26 มี.ค. 64

40

โดยหน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ   

  • นักลงทุนกังวลต่ออุปสงค์น้ำมันที่มีแนวโน้มอ่อนแอ หลังสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) หลายประเทศระงับการใช้วัคซีนของ AstraZeneca เพื่อป้องกัน COVID-19 หลังมีรายงานเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในผู้ที่ได้รับวัคซีน 30 ราย ประกอบกับนักลงทุนกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้น หลังสหรัฐฯ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าสูงถึง 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • Reuters รายงานโรงกลั่นในอินเดียนำน้ำมันดิบเข้ากลั่น ในเดือน ก.พ. 64 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 5.6 % อยู่ที่ระดับ 4.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  • EIA ของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุด 12 มี.ค. 64 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 500.8 ล้านบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • IEA คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2564 อาจเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 96.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

แนวโน้มราคาน้ำมัน

ตลาดน้ำมันดิบมีแนวโน้มเป็นขาลง แม้ราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI เพิ่มขึ้น ในวันศุกร์ที่ 19 มี.ค. 64 โดยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และอุปสงค์น้ำมันยังถูกกดดันหลังจากหลายประเทศในยุโรปคงมาตรการ Lockdown หรือกลับมาดำเนินการใหม่ อาทิ อิตาลี อย่างไรก็ตามองค์การยาของยุโรป (European Medicines Agency: EMA) แถลงว่าวัคซีนของ  AstraZeneca มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บางประเทศ อาทิ เยอรมนี และฝรั่งเศส เริ่มกลับมาใช้วัคซีน ให้ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในตะวันออกกลางที่ตึงเครียด หลังการสู้รบระหว่างกลุ่มพันธมิตร นำโดยซาอุดีอาระเบีย กับกลุ่ม Houthi ในเยเมน มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยวันที่ 21 มี.ค. 64 เครื่องบินรบของซาอุฯ และพันธมิตรโจมตีที่ตั้งของ Houthi ในกรุง Sanaa เมืองหลวงของเยเมน เพื่อตอบโต้ Houthi ที่ใช้โดรนโจมตีโรงกลั่น Riyadh (กำลังการกลั่น 140,000 บาร์เรลต่อวัน) ในซาอุฯ ของ Saudi Aramco เมื่อ 19 มี.ค. 64 ทำให้เกิดเพลิงไหม้ อย่างไรก็ดีโรงกลั่นไม่ได้รับความเสียหายรุนแรง และเริ่มกลับมาดำเนินการ

www.mitihoon.com