KKP วิเคราะห์ “เมื่อเศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทันเศรษฐกิจโลก ความท้าทายใหม่ที่ต้องเตรียมรับมือ”

287

KEY TAKEAWAYS: 

  • KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยขึ้นจาก 2.0% เป็น 2.7% ตามผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ที่น้อยกว่าที่ประเมินไว้และการฟื้นตัวของการส่งออก อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวยังถือว่าช้ามากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลกจากนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะกลับมาได้เพียง ล้านคนในปีนี้
  • การฉีดวัคซีนในหลายประเทศที่ทำได้เร็วจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในปีนี้ ประกอบกับการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐ ฯ อาจนำไปสู่ความเสี่ยงเงินเฟ้อรอบใหม่ และการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลก 
  • ประเทศไทยจะกลายเป็น ประเทศเศรษฐกิจฝืด ในโลกเงินเฟ้อ” ที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามภาวะการเงินโลก ในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนในการระดมทุนของภาคธุรกิจ ขณะเดียวกันค่าเงินบาทในปีนี้เปลี่ยนทิศทางเป็นอ่อนค่าจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีโอกาสขาดดุ

ปรับ GDP เป็น 2.7% นักท่องเที่ยวเหลือ ล้านคน 

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ว่า การระบาดระลอกใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อเดือนธันวาคมจบลงเร็วกว่าคาด ส่งผลให้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส ต่ำกว่าที่ประเมิน ก่อนหน้านี้ KKP Research มีการปรับลงภายใต้สมมติฐานว่าการระบาดของโควิด -19 ระลอกใหม่ อาจยืดเยื้อไปได้สูงสุดถึง ไตรมาส อย่างไรก็ตามจากข้อมูลล่าสุดผลกระทบจากการะบาดระลอกใหม่น้อยกว่าที่ประเมินไว้มาก ประกอบกับสถานการณ์การระบาดที่คลีคลายได้เร็วและมาตรการผ่อนปรนที่เห็นทิศทางชัดเจนขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เราจึงมีโอกาสเห็นการบริโภคและการลงทุนกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงหลังจากนี้ไป 

สำหรับภาคการท่องเที่ยว เรามองว่าตลอดทั้งปี 2021 นักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะกลับมาในประเทศได้ในจำนวนที่จำกัด และปรับการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวลง อีกครั้งจาก ล้านคนเหลือ ล้านคน จากสถานการณ์การฉีดวัคซีนของไทยในปัจจุบันที่ค่อนข้างช้าเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด KKP Research ปรับการคาดการณ์ GDP ขึ้นจากการเติบโตที่ 2.0% เป็น 2.7% แต่ระดับการฟื้นตัวที่ปรับดีขึ้นก็ยังถือว่าฟื้นตัวช้ามากเมื่อเทียบกับการหดตัวในปีก่อนและยังอยู่ในระดับต่ำกว่าแนวโน้มการเติบโตก่อนโควิด   

ประเทศเศรษฐกิจฝืด ในโลกเงินเฟ้อ 

เศรษฐกิจไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในปี 2020 และในปี 2021 ก็จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ฟื้นตัวได้ช้าที่สุดเช่นกัน เป็นภาพกลับกันกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังจะฟื้นตัวย่างแข็งแกร่ง หมายความว่าสิ่งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญคือกลายเป็น ประเทศเศรษฐกิจฝืด ในโลกของเงินเฟ้อ” ซึ่งกำลังจะเจอกับความเสี่ยงสำคัญ จากราคาสินค้าวัตถุดิบหลายอย่าง เช่น ราคาน้ำมันดิบที่ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นไปเกินกว่าระดับ 70 ดอลลาร์ต่อบาเรลแล้ว ผลต่อเนื่อง คือ ต้นทุนการผลิตสินค้าของไทยกำลังจะสูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว 

การส่งออกฟื้นตัวช้ากว่าภูมิภาค บาทมีโอกาสอ่อนค่าลง 

เมื่อราคาน้ำมันทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นผลกระทบอีกอย่างที่เกิดต่อไทย คือ ผลต่อการเกินดุลการค้าในประเทศที่จะมีขนาดเล็กลง ในปี 2020 ที่ผ่านมา การส่งออกไทยหดตัวค่อนข้างมาก และรายได้จากการท่องเที่ยวหายไป แต่ประเทศไทยยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้อยู่เพราะการนำเข้าหดตัวอย่างรุนแรง แต่มองไปข้างหน้า การส่งออกที่ยังไม่ขยายตัวได้มากนัก ในขณะที่การนำเข้าน่าจะปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้บ้างแล้ว ประกอบกับราคาน้ำมันที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น อาจทำให้ระดับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยลดลง KKP Research ประเมินว่าจากปัจจัยทั้งหมดค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงในช่วง 31.5 – 32.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ฯ

ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น กับความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน 

อัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทยปรับตัวสูงขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจยังชะลอตัวอยู่มากสาเหตุเป็นเพราะตลาดการเงินไทยที่มีความเชื่อมโยงกับตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกา ทำให้เมื่อดอกเบี้ยระยะยาวของสหรัฐ ฯปรับตัวสูงขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไทยเองมักจะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย โดยดูจากตัวเลขอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีของไทยปรับตัวสูงขึ้นจากสิ้นปีที่ 1.3% กลายเป็น 2.0% แล้วในปัจจุบัน การปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในภาวะที่เศรษฐกิจไทยยังแย่สร้างผลกระทบที่ตามมา คือ  (1) ต้นทุนในการระดมทุนของบริษัทที่จะเพิ่มสูงขึ้น (2) ความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัท และการออกหุ้นกู้ใหม่ของบริษัทเอกชน (Rollover risk) อาจปรับตัวสูงขึ้น 

www.mitihoon.com