บลจ.ไทยพาณิชย์ โชว์ผลงานบริหารกองหุ้นต่างประเทศ จ่ายปันผลกอง SCBGEQ และ SCBCHA

49

นางนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลจำนวน กองทุน สำหรับงวดผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ ก.พ. 2563 – 31 ม.ค. 2564 โดยจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยพร้อมกันในวันที่ 24 ก.พ. 2564 นี้ รวมมูลค่าเงินปันผลกว่า 74  ล้านบาท ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล อิควิตี้ (SCBGEQ) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว คือ กองทุน Veritas Global Focus (กองทุนหลัก) ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลก กำหนดจ่ายปันผลในอัตรา 0.6305 าทต่อหน่วย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 ไปแล้วจำนวน 0.3005 บาทต่อหน่วย คงเหลือจ่ายงวดนี้ 0.3300 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 13 รวมจ่ายปันผล 3.0045 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2556) 

ส่วนอีกกองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นจีนเอแชร์ (SCBCHA) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว คือ ChinaAMC CSI 300 Index ETF (กองทุนหลัก) ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง บริหารงานภายใต้ความดูแลของ China Asset Management (Hong Kong) Limited มีนโยบายลงทุนให้มีผลการดำเนินงานและความเสี่ยงใกล้เคียงกับดัชนี CSI 300 มากที่สุด โดยกำหนดจ่ายปันผลในอัตรา 0.3498 บาทต่อหน่วย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 ไปแล้วจำนวน 0.1621 บาทต่อหน่วย คงเหลือจ่ายงวดนี้ 0.1877 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 8 รวมจ่ายปันผล 0.9497 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2558) ทั้งนี้ ทั้งสองกองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ตามความเหมาะสมสำหรับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการลงทุน

นางนันท์มนัสกล่าวว่า ในหนึ่งปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวผัวผวนอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก อย่างไรก็ตาม ความผันผวนที่เกิดขึ้นทำให้ภาครัฐ และธนาคารกลางทั่วโลกเร่งออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การประกาศเข้าซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด การให้วงเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ การให้เงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ด้วยการตอบสนองเชิงนโยบายขนาดใหญ่อย่างทันท่วงทีของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกได้ส่งผลบวกต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและทำให้มีเงินทุนไหลกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งครอบคลุมถึงตราสารทุนอีกครั้งหนึ่ง ในระยะถัดไปคาดว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการเงินและการคลังที่ยังคงดำเนินต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี 2564 เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ อัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นและปริมาณผู้ติดเชื้อที่เริ่มลดจำนวนลงจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภคภาคเอกชนทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นต่อหุ้นกลุ่มดังกล่าว

สำหรับมุมมองในตลาดหุ้นจีนมองว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 ตลาดหุ้นจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีหลังจากที่สามารถควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่เกิดผู้ติดเชื้อใหม่นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงิน ได้แก่ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ (Reverse repo rate, MLF rate, LPR rate) การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคาร และการผ่อนคลายการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก (SMEs) รวมถึงนโยบายการคลัง ได้แก่ การเพิ่มเพดานการกู้เงินของภาครัฐผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น การยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ บางรายการเพื่อช่วยเหลือผู้นำเข้า และการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจจีนในปี 2020 ยังสามารถขยายตัวได้ที่ 2.3% โดยในระยะถัดไปคาดว่าตลาดอาจมีความผันผวนจากระดับ valuation ที่อยู่ในระดับสูงที่ Forward PE ระดับ 17.1 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นจีนยังมีแนวโน้มที่ดีจากการที่ภาครัฐยังคงนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจและการผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะหนุนให้เศรษฐกิจและผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนฟื้นตัวต่อเนื่อง

www.mitihoon.com