จับตาการออกมาตรการกระตุ้นทางคลังของสหรัฐฯ และการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19

303

บทวิเคราะห์เจาะลึกประเด็นการลงทุน: จับตาการออกมาตรการกระตุ้นทางคลังของสหรัฐฯ และการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19

SCBS Chief Investment Office (SCBS CIO) ประเมินสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นส่วนใหญ่มีแนวโน้มฟื้นตัว โดยได้รับ Sentiment ในเชิงบวก จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมของสหรัฐฯ หลังพรรคเดโมแครตเสมือนครองเสียงข้างมากในทั้งสองสภา (Blue wave) 

นอกจากนี้ ตลาดฯ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากสัญญาณความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 หลังสำนักควบคุมกฏระเบียบผลิตภัณฑ์รักษาสุขภาพและยา (MHRA) ได้ให้การอนุมัติการใช้วัคซีนต้านโควิด-19  บริษัท Moderna เป็นกรณีฉุกเฉิน รวมทั้ง การทยอยรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาสที่ ที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์

อย่างไรก็ตาม ความกังวลการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 รวมถึงการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 จะทำให้ทางการหลายประเทศยังต้องออกมาตรการควบคุมการระบาดในบางส่วนต่อ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งด้านสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯและจีน และความเสี่ยงเกาหลีเหนือ ที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความเสี่ยงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น ในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ตามแนวโน้มการทยอยเปลี่ยนกลุ่มหุ้น (Rotation) ของนักลงทุน ไปยังกลุ่มหุ้นวัฏจักรมากขึ้น รวมถึง ความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น หลังนางแนนซี่ เพโลซี่ โฆษกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ จะนำกฏหมายถอดถอนประธานาธิบดีทรัมป์เข้าสู่สภา เนื่องจากเป็นภัยต่อรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย โดยประเด็นต่างๆข้างต้นจะกดดันให้ตลาดหุ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างจำกัด

เหตุการณ์สำคัญ (KEY EVENTS)

·        การออกมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมของสหรัฐฯ โดยนายไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า จะเปิดเผยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ในวันพฤหัสบดีนี้ เช่น เงินประกันการว่างง่าน และการพักชำระหนี้ค่าเช่า ประกอบกับ ในสัปดาห์นี้ ทางการสหรัฐฯ ได้เริ่มโครงการ Payment Protection Program (PPP) ซึ่งเป็นวงเงินกู้ช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก ในระยะที่ ภายใต้วงเงินที่ได้รับจัดสรรเพิ่มจำนวน 284 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ

·        ติดตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการใช้มาตรการ lockdown โดยล่าสุด จีนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 103 ราย ซึ่งถือเป็นการติดเชื้อใหม่รายวันมากที่สุดในรอบ เดือน ขณะที่ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้ขอเวลา 2-3 วัน ในการพิจารณาว่าจะประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อรับมือการระบาดรอบใหม่ ในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งรวมถึงจังหวัดโอซากา เกียวโต และเฮียวโงะ หรือไม่

·        ความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสโควิด-19 โดย Pfizer รายงานว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ทางบริษัทพัฒนาร่วมกับ BioNTech มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบในสหราชอาณาจักร และแอฟริกาใต้ ขณะที่ ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก ได้เปิดเผยว่า โครงการ COVAX ได้ทำสัญญาจัดหาวัคซีนโควิด-19 จำนวน พันล้านโดส และจะมีการแจกจ่ายอย่างเท่าเทียมระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจน

·        ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งด้านสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯและจีน หลังนายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ประกาศว่า จะยกเลิกคำสั่งที่เป็นข้อจำกัดทุกอย่างที่ทำกับไต้หวันทั้งหมด รวมถึง ความเสี่ยงเกาหลีเหนือที่เพิ่มสูงขึ้น หลังนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ เรียกร้องให้การมีพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น พร้อมกับระบุว่า สหรัฐฯเป็นศัตรูรายใหญ่ที่สุด

·        ข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และตลาดการเงิน หลังประธานาธิบดีทรัมป์ได้เตรียมขึ้นบัญชีดำบริษัทอาลีบาบา และเทนเซ็นต์ ในข้อหาที่ถูกครอบครองโดยกองทัพจีน นอกจากนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ลงนามคำสั่งบริหาร เพื่อห้ามทำธุรกรรมกับบริษัทซอฟแวร์ของจีน ราย ซึ่งรวมถึง Alipay ของบริษัท Ant Financial Group

·        การทยอยรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน เช่น JPMorgan, Wells Fargo และ Citigroup จะรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ ในสัปดาห์นี้ โดยตลาดคาดการณ์ว่า กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ จะรายงานกำไรสุทธิในไตรมาสที่ หดตัวอยู่ที่ราว -10% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และรายงานรายได้หดตัวอยู่ที่ราว -5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

·        ตัวเลขเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดุลการค้าของยูโรโซน, GDP ในปี 2020 ของเยอรมนี, ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและพื้นฐาน ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ, GDP ในไตรมาสที่ และในปี 2020 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก ดุลการค้าของจีน