กระแส BLUE WAVE ดันเศรษฐกิจโต

833

ผลการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในรัฐจอร์เจียทำให้พรรค เดโมแครตสามารถครองอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งในสภาบนและ สภาล่าง ส่งผลให้นักลงทุนต่างคาดการณ์ถึงมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจที่มากขึ้นในอนาคต จากนโยบายของไบเดนซึ่งรวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบ สาธารณสุข และนโยบายพลังงานสีเขียว เรามองว่าจะช่วย ฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่ สูงขึ้น โดยกลุ่มที่เราคาดว่าจะได้รับประโยชน์คือ กลุ่ม สินค้าโภคภัณฑ์ กลุ่มธนาคาร กลุ่มประกัน และกลุ่ม พลังงานทดแทน ขณะที่กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบใน เชิงลบคือ กลุ่มการเงิน กลุ่มโรงไฟฟ้า และกลุ่มที่มีกิจการ ในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ ว่า bond yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นยืน เหนือระดับ 1% ขานรับกระแส blue wave เป็นที่เรียบร้อย แล้ว ซึ่งเราคาดว่าการเคลื่อนตัว

 

ของ bond yield ไทย อายุ 10 ปีจะเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน ส่งผลบวกต่อกลุ่มธนาคารในประเทศ

 

เรามองว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจของการแพร่ ระบาดระลอก 2 จะน้อยกว่าระลอกแรก เนื่องจากรัฐบาลยัง ไม่มีคำสั่งให้ล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบ และภาคการผลิต ยังดำเนินการได้ตามปกติ เราเชื่อว่าการเริ่มจัดจำหน่าย วัคซีนต้านโควิด-19 ในไตรมาส 1/64 จะช่วย จำกัด downside risk จากมาตรการล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ

 

ได้ ส่งผลให้เราไม่เป็นกังวลในส่วนของผลกระทบที่มีต่อ คุณภาพสินเชื่อของกลุ่มธนาคาร จากการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการ ล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง เราคาดว่ากลุ่มธนาคาร จะมีฐานเงินทุนที่เพียงพอในการรับมือกับ NPLs ที่อาจปรับ สูงขึ้น ทั้งนี้ เราได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรโดยรวมของ กลุ่มธนาคาร

 

ปี 2563/64/65 ขึ้น 2%/7%/8% เป็น 1.091 แสน ลบ./1.124 แสนลบ./1.378 แสนลบ. ตามลำดับ และปรับ เพิ่มราคาเป้าหมายของหุ้นในกลุ่มขึ้นในกรอบ 5-38% จาก ความคืบหน้าของวัคซีนต้านโควิด-19 ที่คาดว่าจะช่วย จำกัดความเสี่ยงในแง่ NPLs ลง อย่างไรก็ตาม เรามองภาพ รวมกำไรของกลุ่มจะอ่อนแอในระยะสั้น โดยกำไรของกลุ่ม จะลดลง 2% ในปี 2564 จากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาด ว่าจะเกิดขึ้น (ECLs) ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

 

นอกจากนี้ อ้างอิงจากมุมมองของห้องค้ากสิกรไทย มี ความเป็นไปได้ที่ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลง 25bps ในไตรมาส 1/64 จากเครื่องยนต์เศรษฐกิจ ภายในประเทศที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในอัตราที่น้อย ลง (ในเชิง %MoM) ประกอบกับ ความไม่แน่นอนในส่วน ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาด ระลอก 2 เราคาดการลดอัตราดอกเบี้ย 25bps จะกระทบ ต่อประมาณการกำไรของกลุ่มธนาคารในปี 64 ประมาณ 5- 8% จากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่น้อยลง ผ่านการปรับ ลดอัตราดอกเบี้ย M-rate (MLR, MOR, MRR)

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ธปท. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลง เราเชื่อว่าธปท. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะมีการออกมาตรการอื่นๆ ในการบรรเทาผลกระทบดัง กล่าวที่อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มธนาคาร อาทิเช่น การปรับลด ค่าธรรมเนียมกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน (FIDF), การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อ เป็นการรักษาขีดความสามารถในการทำกำไรของกลุ่ม ธนาคารไว้ แนะลงทุน KKP (TP:61.00) จาก ภาพรวมการ เติบโตของสินเชื่อที่แข็งแกร่งจากกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ

 

ใหม่ ประกอบกับ อัตราเงินปันผลที่น่าดึงดูดใน

ระดับ 7.5% ในปี 64 และ KTB (TP:12.70) จากมูลค่าหุ้นที่ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ ด้วย PBV ปี 64 ที่ 0.5 เท่า ขณะที่ คาดว่า KTB จะสามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางดิจิทัลกับ โครงการภาครัฐอื่นๆ และเสาะหาช่องทางการเติบโตของ สินเชื่อในกลุ่มใหม่ๆ ได้ หลังสิ้นสุดวิกฤตโควิด-19

หุ้นแนะนำ KKP (พื้นฐาน 61.00 บาท) คาดกำไรได้ผ่าน จุดต่ำสุดไปแล้วในปี 63 จากภาพรวมการเติบโตสินเชื่อที่ แข็งแกร่งจากกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อใหม่ ขณะเดียวกัน KKP มี อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (DY) ที่น่าดึงดูดใน ระดับ 7.5% สำหรับปี 64 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ธนาคารที่ 3-4% ทั้งนี้ ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับต่ำ และ upside ที่ 13.5%

 

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ติดตาม ตัวเลขการจ้างงาน นอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. คาด +1 แสน ตำแหน่ง (ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน) ขณะที่คาดอัตราการว่าง งานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 6.8% ในเดือน ธค. จากเดือน ก่อนที่ 6.7%

จากบทวิเคราะห์ บล.กสิกรไทย

www.mitihoon.com