เอพี ไทยแลนด์” มอบรางวัลให้ 3 นักออกแบบรุ่นใหม่คุณภาพ ในโครงการ “AP NEW GEN DESIGNER

59

มิติหุ้น – บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้พันธกิจ ‘EMPOWER LIVING’ ที่มุ่งเติมเต็มทุกเป้าหมายของชีวิต ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและมีความหมาย เผยโฉม 3 นักออกแบบรุ่นใหม่ดีเด่น ในโครงการ “AP NEW GEN DESIGNER” – สร้างนักคิด ต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์ เจ้าของผลงานการออกแบบพื้นที่สีเขียวกับการอยู่อาศัยในชีวิตแนวตั้ง 3 สไตล์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนต่างไลฟ์สไตล์ในคอมมูนิตี้เดียวกัน ภายใต้โจทย์ NEW BREATH OF THE CITY ที่เอพี ไทยแลนด์ ร่วมกับ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแข่งขันขึ้น เพื่อเอ็มพาวเวอร์นักออกแบบไทยรุ่นใหม่ อนาคตของวงการดีไซเนอร์ไทย ให้ได้พัฒนาความสามารถเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงานจริงในอนาคต ผ่านการเรียนรู้การขับเคลื่อนพลังความคิดได้อย่างเป็นระบบ จากการลงมือทำจริง กับโจทย์ของคนที่ใช้งานจริง

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กร และการสร้างสรรค์ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า “วันนี้เราได้ผลงานการออกแบบชนะเลิศจาก 3 ดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการเรียนรู้กระบวนการคิดในเชิงออกแบบในทุกขั้นตอน ไปจนถึงการลงมือทำจริง ตลอดระยะเวลา 2 เดือนเต็มที่สามารถถ่ายทอดความเข้าใจของนักออกแบบที่มีต่อลูกค้า (customers) ผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบได้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะกระบวนการทำความเข้าใจถึงปัญหาที่ผู้ใช้งานกำลังเผชิญอยู่ และนำมาสู่ดีไซน์โซลูชั่นที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจลูกค้าหรือ Put People First ถือเป็น DNA ของทีมงานเอพีทุกคน ซึ่งได้ถ่ายทอดกระบวนการคิดดังกล่าวเป็นรากฐานให้กับดีไซน์เนอร์ไทยรุ่นใหม่ที่ร่วมในโครงการ AP NEW GEN DESIGNER – สร้างนักคิด ต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์”

โครงการ  AP NEW GEN DESIGNER – สร้างนักคิด ต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์ เริ่มต้นจากการจับมือระหว่าง บมจ. เอพี ไทยแลนด์ และภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเอ็มพาวเวอร์ให้นิสิตซึ่งคือดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ได้ทำงานจริงกับผู้อยู่อาศัยจริง อีกทั้งยังเพื่อเอ็มพาวเวอร์ให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดียระหว่างนิสิต คณาจารย์ และทีมงานเอพี โดยเริ่มต้นจากกระบวนการการเวิร์คช็อปเพื่อเข้าใจถึงภาพรวมของการศึกษาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าอย่างครบลูป จากนั้นจึงลงสนามจริงเพื่อเรียนรู้ในทุกกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกับลูกค้าตัวจริงตลอดระยะเวลา 2 เดือน นักศึกษาทุกคนจะได้รับโจทย์ในหัวข้อ NEW BREATH OF THE CITY’ เพื่อสร้างสรรค์โปรเจคงานแลนด์สเคปดีไซน์ของที่อยู่อาศัยแนวตั้งหรือคอนโดมิเนียมที่มีความท้าทายเฉพาะตัว ทั้งข้อจำกัดด้านพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับดีไซน์ทางสถาปัตยกรรมและ character ของตัวอาคาร บรรยากาศโดยรวม และพื้นที่แวดล้อม ความลงตัวกับวิถีชีวิต จำนวนของผู้พักอาศัย ตลอดจนการ maintain ให้คงความร่มรื่นงดงามในระยะยาวได้จริง พร้อมรับใบประกาศนียบัตร

ผลงานที่ได้รับรางวัล 3 ผลงานในรอบสุดท้าย ของนิสิตชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมในโครงการ มีดังนี้ 1. “Home is a shelter from storms-all sorts of storms” ผลงานของ นางสาวนีรชา นิธิภิญโญเลิศ โดยได้ให้คำจำกัดความของผลงานชิ้นนี้ไว้ว่า “คอนโดเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของคนที่ต้องเข้ามาทำงานในเมือง แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างด้านพื้นที่ จึงทำให้ความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้อยู่อาศัยแตกต่างกัน ในฐานะของดีไซน์เนอร์ จึงต้องทำให้ ‘บ้านไม่ใช่เพียงสถานที่’ แต่เป็น ‘ความรู้สึกสบายใจ’ เมื่อได้กลับมา เป็นสถานที่ที่สามารถปลดปล่อยความเป็นตัวเองได้มากที่สุด โดยเล่าผ่านองค์ประกอบทางการออกแบบทั้ง 4 อย่าง คือ 1) Material การเลือกใช้วัสดุธรรมชาติของไม้ในการออกแบบเพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่น สบาย เสมือนอยู่บ้าน 2) Planting การสร้างพื้นที่สีเขียวที่โล่งกว้าง เปรียบ เสมือนสนามหน้าบ้าน ให้ได้มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างอิสระได้ 3) Lighting การสร้างพื้นที่โดยให้ได้รับแสงธรรมชาติตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนพระอาทิตย์ตก เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์ของไออุ่นธรรมชาติในแต่ละช่วงเวลาของวัน 4) Space การสร้างพื้นที่ส่วนกลางให้อยู่ใน Semi-outdoor เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้งานสัมผัสความเป็นธรรมชาติ พร้อมๆ ไปกับกิจกรรมที่ทำอยู่”

  1. “To Feel Free” ผลงานของ นางสาวปิยากร งามเกียรติขจร ซึ่งได้กล่าวถึงผลงานว่า “ผลงานชิ้นนี้ คือ การสร้างอิสรภาพในการตามหาประสบการณ์ที่แตกต่างกัน 5 แบบภายในที่พักอาศัย ซึ่งได้แก่ 1) Difference ความแตกต่างที่เกิดจากการออกแบบพื้นที่ภูมิสถาปัตยกรรม 2) Option หรือตัวเลือกที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเลือก Path การเข้าถึง และการใช้พื้นที่ส่วนกลางได้อย่างอิสระ 3) Easiness & Convenience การสร้างความสะดวกสบายและการเข้าถึงพื้นที่ส่วนกลางได้โดยง่าย 4) Relaxing การสร้างพื้นที่ให้ได้พักผ่อน และปลดล็อคความเครียดในชีวิต 5) Privacy การสร้างพื้นที่แห่งความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ส่วนกลาง”
  2. Back to the wild” ผลงานของ นายตรัย ตั้งพิมาย โดยได้กล่าวถึงผลงานชิ้นนี้ไว้ว่า “ผลงานนี้ ถือเป็นงานดีไซน์ เพื่อลดทอนความรู้สึกการหายไปของธรรมชาติในเมืองใหญ่ ผ่านการสร้างประสบการณ์ให้รู้สึกและได้สัมผัสอ้อมกอดของธรรมชาติ กับการส่งมอบประสบการณ์ใหม่ใน 3 ส่วนพื้นที่ของโครงการ ดังนี้ 1) Welcome to the wild การสร้างสวนต้อนรับที่เปลี่ยนผ่านประสบการณ์ในเมืองที่วุ่นวายเข้ามาสู่ความสงบในโครงการ ผ่านองค์ประกอบทางภูมิสถาปัตย์ ที่ช่วยตัดขาดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก 2) Mysterious Garden การสร้าง Path ที่เดินเชื่อมต่อพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละก้าวย่าง 3) Top of Mountain Cliff การออกแบบเล่นระดับของพื้นที่ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่แตกต่างกัน โดยชั้นบนสุดต้องการให้สัมผัสถึงความเอ็กซ์คลูซีฟ เสมือนยืนอยู่บนยอดเขาในบรรยากาศธรรมชาติที่เห็นเส้นขอบฟ้า และยอดไม้”

นายพัชร ชยาสิริ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์คอนโดมิเนียม บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวว่า “ผลงานทั้ง 3 ชิ้นข้างต้น ถือเป็นผลงานดีไซน์ที่เริ่มออกกแบบจากความเข้าใจในการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง ทั้งในเชิงความรู้สึก และการสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัย เอพีเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะช่วยเอ็มพาวเวอร์ศักยภาพทางความคิดของน้องๆ ดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ก่อนลงสู่สนามของการทำงานจริง”

www.mitihoon.com