นักวิจัย ม.อ. ค้นพบแมลงหางดีดถ้ำและแมงกุ้งถ้ำ สกุลใหม่ของโลก ที่ภาคใต้  ชี้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ ‘ดิน’เหมาะแก่การเพาะปลูก ต่อยอดสู่การอนุรักษ์ 

462

มิติหุ้น – นักวิจัย ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับนักวิจัยจากประเทศฝรั่งเศสและนักวิชาการของไทย ค้นพบแมลงหางดีดถ้ำและแมงกุ้งถ้ำชนิดใหม่ของโลก จำนวน สกุล รวม ชนิด ในเขตถ้ำของพื้นที่ภาคใต้ และแมงกุ้งถ้ำชนิดใหม่ในสกุล Theosbaena เพิ่มเติมอีก 1 ชนิด ซึ่งเป็นสัตว์ที่เข้าข่ายใกล้สูญพันธุ์ เผยแมลงหางดีดเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพของดิน ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงการปนเปื้อนโลหะหนักและมลพิษในดิน สะท้อนดินภาคใต้อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก   

ผศ.ดร.โสภาค จันทฤทธิ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. และนักวิจัยจากพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พร้อมนักศึกษาจากประเทศไทย ได้ร่วมศึกษาระบบชีววิทยาทางภาคใต้ นำความรู้ไปต่อยอดและเป็นประโยชน์ในระบบนิเวศตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจากการศึกษาทำให้ค้นพบแมลงหางดีดถ้ำชนิดใหม่ของโลกที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก จำนวน สกุล รวม ชนิด โดยจัดเป็นกลุ่มแมลงถ้ำที่มีความจำเพาะกับถิ่นอาศัย (endemic) ที่เจอเฉพาะในถ้ำเขตภาคใต้ของไทย คือ แมลงหางดีดในสกุล Alloscopus จำนวน ชนิด ได้แก่ 

แมลงหางดีดถ้ำชนิด Alloscopus namtip Jantarit & Sangsiri, 2020 โดยค้นพบที่ถ้ำน้ำทิพย์ จังหวัดสุราษฏ์ธานี และ แมลงหางดีดถ้ำชนิด Alloscopus whitteni Jantarit & Sangsiri, 2020ถูกค้นพบที่ถ้ำตาปาน จังหวัดพังงา โดย Dr. Anthony John Whitten นักธรรมชาติวิทยาและเป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนายธาวิน สังข์ศิริ นักศึกษาจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. เป็นผู้ค้นพบ โดยแมลงดังกล่าวเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเทือกเขาหินปูนและถ้ำ (Karst and cave) มีลักษณะเด่นคือ หนวดปล้องที่ แบ่งเป็น ปล้องย่อย ขณะที่หนวดปล้องที่ แบ่งเป็นปล้องย่อยๆ จำนวนมาก ลำตัวยาวเรียว ปลายหางมีลักษณะงอ อาจมีหรือไม่มีเม็ดสีก็ได้ ทำให้ปัจจุบัน มีแมลงหางดีดในสกุล Alloscopus ทั่วโลก 12 ชนิด โดยมีรายงานการค้นพบในประเทศไทยแล้วอย่างน้อย ชนิด 

นอกจากนี้ ม.อ. ยังได้ศึกษาร่วมกับกับนางสาวแคทลียา สุระคำแหง และ Dr. Louis Deharveng จากพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ค้นพบแมลงหางดีดถ้ำชนิดใหม่ในสกุล Troglopedetes (แมลงหางดีดหางหนามเหนือ) เพิ่มเติมอีก ชนิด ได้แก่ แมลงหางดีดหางหนามเหนือถ้ำ ชนิด Troglopedetes meridionalis Jantarit, Surakhamhaeng & Deharveng, 2020 ที่ค้นพบ ณ ถ้ำดอนนนท์ จังหวัดชุมพร โดยเป็นแมลงหางดีดสกุล Troglopedetes ชนิดแรกนี้ เป็นการค้นพบครั้งแรก (new record) ในภาคใต้ของประเทศไทย และ แมลงหางดีดหางหนามเหนือถ้ำ ชนิด Troglopedetes kae Jantarit, Surakhamhaeng & Deharveng, 2020 ที่ค้นพบ ณ ถ้ำเข้ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อุทยานธรณีโลก จังหวัดสตูล โดยมีลักษณะเด่นคือ ลำตัวเรียวยาว หนวดปล้องที่ สามารถแบ่งได้เป็น ปล้องย่อย บริเวณปลายหางตั้งตรง และมีหนามขึ้นเป็น แถว จึงเป็นที่มาของชื่อ มีการแพร่กระจายส่วนใหญ่อยู่เหนือคอคอดกระขึ้นไปเท่านั้น 

“แมลงหางดีด จัดเป็นแมลงโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งทั่วโลกมีแมลงหางดีดสกุล Troglopedetes ทั่วโลก มี 33 ชนิด และไทยเป็นประเทศที่มีแมลงหางดีดสกุลนี้มากที่สุดในโลก จำนวน 14 ชนิด โดยทั้งหมดถูกค้นพบในถ้ำของประเทศไทย และเป็นกลุ่มที่มีความจำเพาะกับถ้ำทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบนิเวศถ้ำในบ้านเราในการรองรับความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในทางวิทยาศาสตร์ (Species new to science)” ผศ.ดร.โสภาค กล่าว

ทั้งนี้การค้นพบแมลงหางดีด สะท้อนว่าระบบนิเวศน์ทางภาคใต้มีความสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการเพาะปลูกเนื่องจากสัตว์ที่มีขนาดเล็ก มีบทบาทในการย่อยสลายซากอินทรีย์สารต่าง ๆ ทั้งพืชและสัตว์ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารต่าง ๆ และยังช่วยปรับโครงสร้างของดิน และยังมีความสำคัญต่อระบบห่วงโซ่และสายใยอาหาร เพราะแมลงหางดีดเป็นได้ทั้งผู้ล่า จึงสามารถควบคุมการแพร่กระจายของสัตว์/พืชอาหารขนาดเล็กต่างๆ เช่นโปรโตซัว หนอนตัวเล็ก โรติเฟอร์ แบคทีเรีย รา และสาหร่าย และยังสามารถใช้เป็นดัชนีวัดคุณภาพของดิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศการปนเปื้อนของโลหะหนักและมลพิษในดินได้ด้วย 

นอกจากนี้ ยังค้นพบแมงกุ้งถ้ำชนิดใหม่ในสกุล Theosbaena เพิ่มเติมอีก 1 ชนิด ได้แก่ แมงกุ้งถ้ำลอกอ ชนิด Theosbaena loko Jantarit, Promdam & Wongkamhaeng, 2020 ณ ถ้ำลอกอ จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความจำเพาะกับระบบนิเวศถ้ำ โดยเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species) ตามสถานะการอนุรักษ์ของ IUCN ลักษณะเด่นของแมงกุ้งถ้ำ คือ มีลักษณะคล้ายกับตัวกุ้ง ลำตัวเรียวยาว ทรงกระบอก ตัวสีขาวใส ตาบอด ความยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งทั่วโลกมีรายงานเพียง ชนิดเท่านั้น ทำให้ปัจจุบัน มีแมงกุ้งถ้ำในสกุล Theosbaena ทั่วโลกเพียง ชนิด และพบได้ในถ้ำของประเทศไทยและประเทศกัมพูชาเท่านั้น   

www.mitihoon.com