4 หุ้นถ่านหินเสี่ยง สถานการเงินลดลงทุน

1440

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า ด้านบทิวเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จากกรณีมีรายงานว่า สถาบันการเงินทั่วโลกกำลังหั่นหลังให้ถ่านหิน (ขายหุ้นทิ้ง หรือไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน ฯลฯ)จนถึงขณะนี้ มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่กว่า 100 แห่งทั่วโลก (ธนาคาร, บริษัทประกัน, บลจ. ฯลฯ) ที่ได้ขายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับถ่านหินทิ้งไป (เหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหิน) ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมา ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ก็ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนของตลาดทุนไทย โดยการออกแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ บลจ. ยักษ์ใหญ่ในระดับโลกก็ได้กำหนดเกณฑ์การลงทุนว่าบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนต้องมีสัดส่วนรายได้จากถ่านหิน (เหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหิน) ไม่เกิน 20-25% แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากบริษัทไหนที่มีสัดส่วนเกินเกณฑ์ไปเล็กน้อย แต่มีเจตนาที่จะลดสัดส่วนรายได้จากถ่านหินลงก็จะถือว่าเข้าข่ายเป็นหุ้น ESG เราเชื่อว่าสัดส่วนรายได้ที่กำหนดจะเข้มงวดมากขึ้นในอนาคตเพื่อสะท้อนถึงการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (สหรัฐ และยุโรป ภายในปี2593)

BPP , RATCH, EGCO และ WHAUP เข้าข่ายถูกลดการลงทุน

ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีข้อมูลโครงสร้างรายได้จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่เราพิจารณาในแง่ของกำไรจากธุรกิจหลัก และกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น (equity capacity) ซึ่งเมื่อพิจารณาผลประกอบการจากธุรกิจหลักในงวด 9M63 ก็พบว่ามีสี่บริษัท ได้แก่ Banpu Power (BPP.BK/BBP TB)* ,Ratch Group (RATCH.BK/RATCH TB)*, WHA Utilities and Power (WHAUP.BK/WHAUP TB) และ Electricity Generating (EGCO.BK/EGCO TB)*) ที่ผลประกอบการจากธุรกิจหลักมาจากถ่านหินในสัดส่วนที่สูง (มากกว่า 30% ของกำไรจากธุรกิจหลักในงวด 9M63 Figure 2)

โรงไฟฟ้าที่มีสัดส่วนกำไรจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสูง และมีสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ และ NVDR สูงอาจเผชิญแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ

เราพบว่าหุ้นโรงไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ในพอร์ต อย่างเช่น RATCH, EGCO, WHAUP และ BPP เผชิญแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติมาตั้งแต่ปี 2561 แล้ว จากสองประเด็นด้วยกัน (สัดส่วนกำลังการผลิตตามสัดส่วนของถือหุ้นของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และสัดส่วนกำไรจากธุรกิจถ่านหิน) โดย BPP มีสัดส่วนสูงที่สุดในสองประเด็น แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติบวกกับ NVDR ต่ำเพียงแค่ 2.20% (เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563) ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงด้าน downside จากการที่จะถูกนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นออกไม่มากนัก ส่วนหุ้นของ RATCH และ EGCO ก็ถูกกระทบหนักสุด YTD จากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติที่  39.8% และ 17.0% ตามลำดับ ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นเพราะเกือบครึ่งของผลประกอบการหลักในงวด 9M63 มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน (Figure 2)

ใช้ discount 25% เพื่อสะท้อนถึงการปรับมูลค่าหุ้นที่รวมประเด็น ESG แล้ว

เนื่องจากธุรกิจของ BPP อิงกับถ่านหินอย่างมาก เราจึงใช้ BPP เป็นตัวแทน สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหิน เราพบว่า discount เฉลี่ยรายสัปดาห์ในช่วงสองปี (2562-63) จากมูลค่าเหมาะสมของ BPP อยู่ที่ 25% ซึ่งเราเชื่อว่าสะท้อนถึงประเด็นการลงทุนในหุ้น ESG ดังนั้น เราจึงยังคงใช้วิธี DCF ในการประเมินมูลค่าหุ้นกลุ่มนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม เรากำหนด discount ที่ 25% จากมูลค่าเหมาะสมที่ประเมินโดยวิธี DCF ของโรงไฟฟ้าถ่านหินทุกแห่ง เพราะเราเชื่อว่าจะมีการปรับเกณฑ์ ESG ให้เข้มงวดขึ้น ทั้งในส่วนของ บลจ. ระดับโลก และในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เกิดแรงเทขายของนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศ และต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องของหุ้นลดลง

Valuation & Action

จึงยังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ Neutral โดยเราปรับลดราคาเป้าหมายของ BPP ลง และปรับลดคำแนะนำจากถือเป็นขาย โดยกำหนดราคาเป้าหมายปี 2564 ที่ 14.00 บาท นอกจากนี้ เราก็ปรับลดราคาเป้าหมายของ EGCO , Global Power Synergy (GPSC.BK/GPSC TB)* , Gulf Energy Development (GULF.BK/GULF TB)* , RATCH และ WHAUP เพื่อสะท้อนถึงการปรับมูลค่าหุ้นที่คำนึงถึงประเด็น ESG แล้ว (Figure 6) เราเลือก BGRIM, GULF และ GPSC เป็นหุ้นเด่นของเราในกลุ่มนี้

 

Risk

ความล่าช้าในการจัดสรรกำลังการผลิตใหม่, มีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของทางการไทย, โรงไฟฟ้าหยุดผลิตไฟฟ้า, และความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการใหม่

www.mitihoon.com