บ้านปู เพาเวอร์ฯ เผยผลประกอบการไตรมาส 3 ดีต่อเนื่อง ย้ำการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย 3 ยุทธศาสตร์

318
มิติหุ้น-บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืนด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Thermal Power Business) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ปิดไตรมาส 3/2563 ด้วยผลกำไรต่อเนื่องจากประสิทธิภาพและเสถียรภาพของโรงไฟฟ้า เตรียมเข้าคำนวณดัชนี MSCI GLOBAL SMALL CAP INDEX สะท้อนปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งและเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง พร้อมทั้งคาดว่าภายในปีนี้จะมีโรงไฟฟ้าเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าซานซีลู่กวงในจีน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในญี่ปุ่น 2 แห่ง คือ ยามางาตะ (Yamagata) และยาบูกิ (Yabuki) นอกจากนี้ บ้านปู เพาเวอร์ฯ ยังมุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ ต่อยอดธุรกิจจากระบบนิเวศทางธุรกิจกลุ่มบ้านปูฯ – หาโอกาสการเติบโตในประเทศที่มีศักยภาพและผลักดันการเติบโตของ “บ้านปู เน็กซ์”

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แม้ในช่วงที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเศรษฐกิจโลกจะมีความท้าทายอย่างยิ่ง แต่บ้านปู เพาเวอร์ฯ ยังสามารถรักษาการเติบโตของธุรกิจไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง โรงไฟฟ้าทุกแห่งสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเราให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงพัฒนาการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าและการนำเอาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE)  เข้ามาใช้ โดยเฉพาะในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าเจิ้งติ้ง (Zhending) ในจีนได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่นจากความสามารถในการควบคุมการปล่อยมลภาวะในระดับต่ำ นอกจากนี้ เรายังมุ่งบริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวงในจีน และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น 2 แห่ง ได้แก่ ยามางาตะ (Yamagata) และยาบูกิ (Yabuki) เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ตามแผนรวมไปถึงการบริหารกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง เตรียมพร้อมสำหรับลงทุนในโครงการใหม่ๆ ในอนาคต เพื่อให้บรรลุการเติบโตได้ตามเป้าหมาย”
N2032

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง (SLG) กำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 396 เมกะวัตต์นั้น การก่อสร้างคืบหน้ากว่าร้อยละ 89 ในขณะที่สายส่งกำลังไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าย่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ทั้งนี้ SLG เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Ultra-Supercritical ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE) โดยผลิตไฟฟ้าคุณภาพผ่านสายส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูง 1,000 กิโลโวลต์ (kV) ซึ่งจะมีคุณลักษณะส่งไฟฟ้าในระยะไกลและในปริมาณมาก โดยมีอัตราความสูญเสียต่ำ อีกทั้งยังสามารถผลิตไอน้ำส่งให้ชุมชนเมืองฉางจื้อ (Changzhi) ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่ตั้งโรงไฟฟ้าฯ เหล่านี้ล้วนตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาตลาดไฟฟ้าในจีนซึ่งมุ่งเน้นเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มีเสถียรภาพสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีในไทยมีค่าความพร้อมจ่ายไฟ (Equivalent Availability Factor: EAF) ที่อัตราร้อยละ 100 ส่วนโรงไฟฟ้าเอชพีซีใน สปป.ลาว มีค่า EAF ที่อัตราร้อยละ 72 ซึ่งกลับมาเดินเครื่องเป็นปกติภายหลังปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยผลิตที่ 3 ให้มีเสถียรภาพ และมุ่งรักษามาตรฐานค่า EAF เฉลี่ยสำหรับปีนี้ที่อัตราร้อยละ 80 ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 3 แห่งในจีนเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าและไอน้ำต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม
N2032

“ภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter ของกลุ่มบ้านปูฯ  บ้านปู เพาเวอร์ฯ มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงหลักสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG)  เพื่อเพิ่มมูลค่าและรักษาสมดุลระหว่างกระแสเงินสดและผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยล่าสุด บ้านปู เพาเวอร์ฯ เตรียมเข้าคำนวณดัชนี MSCI GLOBAL SMALL CAP INDEX นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งจะส่งผลดี   ต่อการเพิ่มน้ำหนักลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ เพราะสะท้อนถึงการมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งและเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ตอกย้ำว่าบ้านปู เพาเวอร์ฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ บ้านปู เพาเวอร์ฯ ยังคงเดินหน้าสู่การขยายกำลังผลิตให้ได้ถึง 5,300 เมกะวัตต์เทียบเท่าในปี 2568 ด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1. ผนึกพลังร่วมภายในกลุ่มบ้านปูฯ เพื่อต่อยอดการพัฒนาและดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าในประเทศที่บ้านปูฯ มีธุรกิจอยู่ เช่น สหรัฐอเมริกา 2. มุ่งแสวงหาโอกาสการลงทุนในประเทศที่มีการเติบโต   ทางเศรษฐกิจและมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งผสมผสานระหว่างการลงทุน   ในโครงการที่ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว ที่สามารถสร้างกระแสเงินสดทันที กับการลงทุนแบบ Green Field ที่ต้นทุนต่ำกว่าและสร้างกำไรได้มากกว่า โดยใช้เทคโนโลยี HELE เพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ ในราคาที่เหมาะสม และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 3. ผลักดันการเติบโตของธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีพลังงานผ่านการลงทุนในบ้านปู เน็กซ์ เพื่อเสริมธุรกิจผลิตไฟฟ้าให้แข็งแกร่งและสอดรับกับกระแสพลังงานแห่งโลกอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง 3 ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะทำให้บ้านปู เพาเวอร์ฯ สามารถต่อยอดโอกาสทางธุรกิจไฟฟ้าต่อไปได้ เช่น ลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา และธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในเวียดนาม เป็นต้น” นายกิรณ กล่าวปิดท้าย

N1022

ในไตรมาส 3/2563 บ้านปู เพาเวอร์ฯ มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 916 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และมีกำไรสุทธิรวม 845 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีรายได้รวมจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมทั้ง 3 แห่งในประเทศจีนจำนวน 972 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการขายไฟฟ้า และไอน้ำ สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนหลังวิกฤตโควิด-19  บริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจำนวน 637 ล้านบาท จากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี โรงไฟฟ้าเอชพีซี

www.mitihoon.com