PRIME’ ตอกย้ำธุรกิจเติบโตแข็งแกร่ง เข้าคำนวณดัชนี FTSE Micro Cap – Total Cap มีผล 18 ก.ย.63 นี้

70

มิติหุ้น-  นายสมประสงค์ ปัญจะลักษณ์ ประธานกรรมการ บริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชนหรือ ‘PRIME’ ผู้ผลิตพลังงานสะอาดชั้นนำ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความยินดีที่หลักทรัพย์ PRIME ได้รับคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี 2 กลุ่มรวด คือ FTSE Micro Cap และ FTSE Total Cap ซึ่งเป็นดัชนีหลักทรัพย์ระดับนานาชาติ สำหรับครึ่งปีหลัง 2563  และรู้สึกภูมิใจแทนผู้ถือหุ้นทุกท่าน ที่ PRIME ได้รับการคัดเลือกให้เข้า FTSE อย่างรวดเร็ว หลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพียง 10 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นการตอกย้ำการเป็นบริษัทจดทะเบียนชั้นนำที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากขึ้

ทั้งนี้บริษัทฯ ได้แจ้งประกอบการในครึ่งปีแรกของปี 2563 ที่เติบโตสวนสถานการณ์โควิดกว่า 50% โดย บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานเติบโตดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงเดียวกันของปีก่อน บริษัทฯ มีรายได้รวม 357 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2% จากรายได้รวม 337 ล้านบาทในงวดเดียวกันของปี 2563 และมีกำไรเบ็ดเสร็จ 242 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.3% จากกำไรเบ็ดเสร็จ 161 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปี 2562 โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิสูงประมาณ 49% ซึ่งนับว่าสูงที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มโรงไฟฟ้า โดยการ เติบโตนี้มาจากการรับรู้รายได้เต็มงวดของโรงไฟฟ้า 3 โครงการในประเทศไต้หวันที่เริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์(COD) เมื่อเดือนเมษายน ปี 2562 รวมถึงยังมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการแข็งค่าของเงินบาท และส่วนเกินทุนจากการปรับมูลค่ายุติธรรมในระหว่างงวดบริษัทฯ มั่นใจได้ว่า ปีนี้ผลงานเข้าเป้าเร่งเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใหญ่สุดในกัมพูชา บุกขยายการลงทุนทั่วเอเชียแปซิฟิก ลุยธุรกิจใหม่รับเหมาก่อสร้าง Solar Rooftop พร้อมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยกระดับสู่บริษัท พลังงานสะอาดชั้นนำ ปีนี้พร้อมดันรายได้ตามเป้า 1,000 ล้านบาท และกำไร 400 ล้านบาท

 สำหรับแนวโน้มธุรกิจปีนี้ บริษัทฯ คาดว่า จะเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนประมาณ 50% ในส่วนของธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ตั้งเป้าว่าปี 2563 นี้จะมีการเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 400 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดรวม 287 เมกะวัตต์ ซึ่งในจำนวนทั้งหมดนี้ ได้จำหน่ายไฟฟ้าแล้วจำนวน 179 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่าง

 พัฒนาและก่อสร้าง 108 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าทั้งหมด ที่มีอยู่เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งอยู่ในประเทศไทยจำนวน 132.3 เมกะวัตต์  ในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 68.2 เมกะวัตต์ ในประเทศ ไต้หวันจำนวน 8.5 เมกะวัตต์ อีกทั้ง โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศกัมพูชาคืบหน้าเป็นไปตามแผน หลังจากที่บริษัทฯ ได้ชนะการประมูลโครงการ National Solar Park เมื่อปลายปี 2562 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกัมปงชนัง   

มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 78 เมกะวัตต์ และมีสัญญาจำหน่ายไฟฟ้า 60 เมกะวัตต์ โดยโครงการนี้มีธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็นที่ปรึกษาช่วยวางแผนและจัดประมูลให้รัฐบาล จึงมีความโปร่งใสสูง และมีความเสี่ยงต่ำ ล่าสุดหลังจากเร่งดำเนินการประสานงานมาโดยตลอด บริษัทฯ ก็ได้ลงนามในสัญญาพัฒนา โครงการและสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับรัฐบาลกัมพูชาเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ โครงการมีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในไตรมาส 2 ปี 2565”

 ล่าสุด บริษัทฯ ได้เปิดตัวธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจรับเหมาติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์  บนหลังคา (Solar Rooftop EPC) โดยได้ร่วมลงทุนและถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านนี้สูงกว่า 10 ปี พร้อมทั้งเดินหน้าจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจหลายรายที่แนะนำลูกค้าเอกชนที่มีความสนใจจะติดตั้งให้ ทำให้ ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน มีโครงการที่มีความเป็นไปได้สูงมารอให้เข้าไปดำเนินการเกือบ 30 โครงการ ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีผลประกอบการดี        มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง และระบบ Solar Rooftop จะช่วยลดค่าไฟซึ่งเป็นต้นทุนของธุรกิจได้อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยบริษัทฯ ใช้กลยุทธ์ ลุยเจรจาและทำสัญญา กับลูกค้าที่มีศักยภาพสูงก่อน ทำให้ปัจจุบันมีโครงการที่ก่อสร้างแล้วกับโครงการที่กำลังจะทำสัญญา รวมมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท และ ภายในปีนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าจะทำสัญญาให้ได้มูลค่ารวม 300 ล้านบาท           แต่อาจจะก่อสร้างแล้วเสร็จและรับรู้รายได้ภายในปี 2564 ซึ่งโครงการที่สำเร็จแล้วของลูกค้าที่มีชื่อเสียง ได้แก่ โครงการ KUBOTA Farm ของบริษัท สยาม คูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ให้ไปติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนโครงสร้างเสาคร่อมแปลง ปลูกพืชสาธิตแนวคิดการใช้พื้นที่เก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการผลิตอาหารและการผลิตไฟฟ้า อย่างมี ประสิทธิภาพ (Solar Double Cropping) โดยโครงการนี้ตั้งอยู่ที่ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ถือเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในภูมิภาคอาเซียน มุ่งหวังให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เทคนิคด้านการเกษตร (Agriculture Solutions) ผสานการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เครื่องจักรกล การเกษตร (Machinery Solutions) เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงทุกนวัตกรรมเกษตรครบวงจรที่ใช้ได้จริง โดยมี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จ เปิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา

 PRIME” ได้วางกลยุทธ์ ‘Go Local’ มุ่งพัฒนาโครงการใหม่ในประเทศ ซึ่งตอนนี้ กำลังเตรียมพร้อมสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (ควิกวิน) ของภาครัฐ และยังลุยซื้อ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่จ่ายไฟแล้วเข้ามาปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อเสริมความแกร่งของพอร์ต บริษัทฯ อีกด้วย ฉะนั้นหากเจ้าของโครงการท่านไหนมีโครงการที่ดีต้องการเสนอขาย ก็สามารถติดต่อมา ที่บริษัทฯ ได้ นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ ‘Go Inter’ ที่มุ่งขยายการลงทุนไปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งในประเทศ ที่ลงทุนไปแล้ว อย่างญี่ปุ่น ไต้หวัน และกัมพูชา และประเทศใหม่ที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เช่น มาเลเซีย เวียดนาม พม่า และอุซเบกิสถาน เป็นต้น” อีกทั้ง“ในปี 2563 นี้ บริษัทฯ ยังได้เริ่มใช้กลยุทธ์ Digital Transformation เพื่อพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล นำระบบ Objectives, Key Results (OKR) ที่ใช้โดยองค์กรระดับโลกอย่าง Google เข้ามาใช้เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพอย่างจริงจัง และยังสนับสนุนให้พนักงานมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Spirit) เปิดทางให้ศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ เช่น ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบ ไฟฟ้า และธุรกิจที่ปรึกษาระบบจัดการพลังงาน (Energy Management System) เป็นต้น โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายสำคัญในปีนี้ คือ มีรายได้ 1,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 52% จากรายได้ 658 ล้านบาทในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 400 ล้านบาท เติบโตขึ้น 51% จากกำไรสุทธิ 265 ล้านบาทในปีก่อน ทั้งหมดนี้ เพื่อมุ่งเติบโตสู่บริษัทพลังงานสะอาดชั้นนำ สามารถทำกำไรไปพร้อมกับการพัฒนาให้โลกดีขึ้น และยังสร้าง ผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นตลอดไป”

 บริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘PRIME’ “ มีสินทรัพย์จำนวน 5,580.5 ล้านบาท เติบโตขึ้น 5.8% จากเมื่อสิ้นปี 2562 โดยแบ่งเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 2,682.8 และหนี้สินรวม 2,897.7 ล้านบาท ทำให้มีอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) เพียง 1.08 เท่า ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน จึงเป็นโอกาสดีที่จะจัดหาเงินทุนระยะยาวเพิ่มเติมมาลงทุนขยายธุรกิจ โดยบริษัทฯ กำลังศึกษาความเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น การกู้ยืมจากสถาบันการเงินและการออกหุ้นกู้ เป็นต้น ทั้งนี้บริษัทฯ ได้เริ่มหารือกับสถาบันการเงินและบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งแล้ว แต่ยังเปิดโอกาสให้รายอื่นๆ เข้ามาเสนอแนะแนวทางเพิ่มเติมอีก เพื่อจะได้เลือกวิธีที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำและเป็นประโยชน์กับบริษัทฯ มากที่สุด ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันฯ รายได้หลักของบริษัทเกือบทั้งหมด มาจากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีขนาดกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดรวม 287 เมกะวัตต์ โดยเป็นโครงการที่ดำเนินการขายไฟแล้ว 179 เมกะวัตต์ และโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา 108 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย มีกำลังผลิตติดตั้งรวม 132.3 เมกะวัตต์ ประเทศญี่ปุ่น 68.2 เมกะวัตต์ ประเทศไต้หวัน 8.5 เมกะวัตต์ และประเทศกัมพูชา 78 เมกะวัตต์ โดยโครงการที่ขายไฟแล้วคาดว่าจะทำรายได้ในปีนี้ราว 700 ล้านบาท”

www.mitihoon.com