GPSC ปิดดีลซื้อโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม 39.5 MW เดินหน้าเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนตามยุทธศาสตร์

64

มิติหุ้น-GPSC ปิดดีลซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 39.5 เมกะวัตต์ ส่งบริษัทย่อย GRP เข้าถือหุ้น 100% ใน บริษัท ขยายพอร์ตรายได้พลังงานทดแทน ขับเคลื่อนธุรกิจตามยุทธศาสตร์การเพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือก

คุณชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 บริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ จำกัด (Global Renewable Power Co., Ltd. หรือ GRP) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GPSC ได้บรรลุความสำเร็จการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ในสัดส่วน 100% ใน บริษัท ได้แก่ บริษัท เอ็น.พี.เอส.สตาร์กรุ๊ป จำกัดบริษัท เวิลด์ เอ็กซ์เชนจ์ เอเชีย จำกัดบริษัท พี.พี. โซล่า จำกัด และ บริษัท เทอร์ร่าฟอร์ม โกลบอล โอเปอเรติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้พัฒนาโซลาร์ฟาร์มรวมกัน โครงการ กำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 39.5 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ โครงการโซลาร์ฟาร์มทั้ง โครงการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ จังหวัด ประกอบด้วย ลพบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร และ ขอนแก่น ปัจจุบันสามารถผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยมีสัญญาซื้อขายไฟเป็นระยะเวลา 25 ปี จนถึงปี 2582 – 2583 โดยแบ่งเป็น สัญญาซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า หรือ Adder ในอัตรา บาทต่อหน่วย (สำหรับช่วง 10 ปีแรกของสัญญา) ในสัดส่วน 3.6 เมกะวัตต์ และ สัญญาในรูปแบบ Feed-in Tariff หรือ FiT อัตรา 5.66 บาทต่อหน่วย ในสัดส่วน 35.9 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าทั้งหมดมีการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2557-2558

หลังจากประสบความสำเร็จในการทำรายการในครั้งนี้ จะส่งผลให้บริษัทฯ สามารถรับรู้รายได้เต็มงวดตั้งแต่ไตรมาส ปี 2563 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานในด้านของการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า และการแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมพลังงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก” นายชวลิตกล่าว

อย่างไรก็ตาม แผนการพัฒนากำลังการผลิตใหม่ในปี 2563-2566 บริษัทฯ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก โครงการ ประกอบด้วย โครงการส่วนต่อขยายของบริษัท ผลิตไฟฟ้านวนคร จำกัด (NNEG Expansion) โครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร Rayong Waste to Energy (WTE) โครงการ เอนเนอยี รีคอฟเวอรี่ ยูนิต (ERU) และโครงการ SPP Replacement ของบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้ทุกโครงการมีความคืบหน้าในการพัฒนาตามแผน และมั่นใจว่าจะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

www.mitihoon.com