โครงการ OUR Khung BangKachao โชว์ผลงาน 1 ปี กับการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุ้งบางกะเจ้า มุ่งสานพลังต่อเนื่องรักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชนและเศรษฐกิจยั่งยืน

285

มิติหุ้น – พัฒนา “พื้นที่สีเขียวควบคู่กับเศรษฐกิจเติบโต” ยกระดับคุณภาพชีวิต วิถีชุมชน และสิ่งแวดล้อมใน 5 ปี ผ่านกระบวนการทำงานทั้ง 6 ด้าน ภายใต้การกำกับดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืน ให้เกียรติเป็นประธานงานแถลงข่าว “1 ปี แห่งการขับเคลื่อนงาน          และก้าวต่อไปของการสานพลังโครงการ OUR Khung BangKachao โดยมี นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และนายจิระศักดิ์ ชูความดี รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมงาน ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ภายในงานมีการจัดเสวนาโชว์ไฮไลท์การดำเนินงานที่ผ่านมา 1 ปี พร้อมเล่าถึงแผนการพัฒนาคุ้งบางกะเจ้าในปี 2563 โดยมี นางสาวดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่สีเขียว นางสุพัตรา จิราธิวัฒน์ ประธานคณะทำงานด้านการส่งเสริมอาชีพ นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ประธานคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นายกมลนัย ชัยเฉนียน ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาเยาวชน การศึกษา และวัฒนธรรม นายณัฐนันท์ ศิริรักษ์ ประธานคณะทำงานด้านการจัดการขยะ พร้อมด้วยนายสมาน         เสถียรบุตร และนางอาภรณ์ พานทอง ผู้แทนคุ้งบางกะเจ้า ร่วมเสวนา

ดร.สุเมธฯ กล่าวว่า “1 ปีที่ผ่านมาของโครงการ OUR Khung BangKachao มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำงานแบบสานพลังร่วมกันระหว่างองค์กรชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาทั้ง 6 ด้าน รวมถึงมีคณะทำงานด้านอำนวยการและสื่อสารที่เชื่อมประสานทุกคณะ บูรณาการทำงานระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายร่วม (Shared Goal) ในการมุ่งสู่การยกระดับและพัฒนาพื้นที่ ”คุ้งบางกะเจ้า” ให้เกิดความเจริญเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนในทุกมิติ หรือ Green Growth  มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนคุ้งบางกะเจ้า และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตเพิ่มขึ้น ภายใน ปี (ปี 25622566)  

ทุกวันนี้ จากความเจริญทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจที่ขาดการดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้เราเห็นผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เช่น การเกิดมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง PM 2.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่างๆ เป็นต้น ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญยิ่งในการช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน สำหรับ 1 ปี ผ่านมา นอกจากคณะทำงานฯ ได้เพิ่มพื้นที่สีเขียวที่คุ้งบางกะเจ้าในระยะแรกบนพื้นที่ราชพัสดุตามเป้าหมายที่วางไว้แล้ว มีพื้นที่นำร่องการจัดการน้ำในร่องสวน มีศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ ยังมีการสร้างความเจริญเติบโตเพื่อผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ชาวคุ้งบางกะเจ้าอีกด้วย อาทิ  เกษตรสีเขียว การพัฒนาตลาดเขียว การท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งมีการพัฒนากลุ่มเยาวชนให้เรียนรู้และเข้าใจงานด้านต่าง ๆ ของโครงการฯ ซึ่งผลการทำงานที่ผ่านมานี้ นับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาที่มีความคืบหน้าต่อเนื่อง

สำหรับในปี 2563 โครงการฯ ยังคงเดินหน้าการทำงานให้สำเร็จตามแผนงานและเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อรักษาให้พื้นที่ “คุ้งบางกะเจ้า” คงความเป็นอัตลักษณ์ที่ทั้งคนไทยและชาวโลกชื่นชม รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เป็นสมบัติและความภาคภูมิใจของชุมชนบางกะเจ้า ที่คนไทยและชาวต่างประเทศอยากมาเยี่ยมเยือนตลอดไป

ผลการดำเนินงานในปี 2562 มีการพัฒนาทั้ง ด้าน ดังนี้

1. คณะทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่สีเขียว โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานฯ ร่วมมือกับคณะทำงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรที่ร่วมสนับสนุน ได้เพิ่มพื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้าบนพื้นที่ราชพัสดุระยะแรกแล้ว 107 แปลง 400 ไร่ ปลูกไม้ป่า ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจระยะสั้น รวมกว่า 13,000 ต้น ต้นไม้เหล่านี้ใน 15 ปี จะสามารถดักจับฝุ่นและมลพิษทางอากาศได้กว่า 19,000 กิโลกรัม/ปี ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 23,000 ตันคาร์บอน/ปี และปล่อยออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการมนุษย์ได้ 27,000 คน/ปี รวมทั้งยังได้มีการพัฒนาศักยภาพผู้นำคนรุ่นใหม่เพื่อบริหารจัดการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยตนเองอย่างยั่งยืน โดยในปี 2562 การดำเนินงานสามารถสร้างประโยชน์ต่อชุมชนคิดเป็นมูลค่ากว่า 2.2 ล้านบาท สำหรับแผนงานปี 2563 คณะทำงานมุ่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนแปลงราชพัสดุ 300 ไร่ และพื้นที่เกษตรส่วนบุคคล 300 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 600 ไร่ และยังคงติดตามบำรุงรักษาพื้นที่ 400 ไร่ที่ดำเนินการไปแล้วต่อเนื่อง เพื่อมุ่งรักษาและพัฒนาพื้นที่สีเขียวในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าครบ 6,000 ไร่ ภายใน ปี ให้เป็นต้นแบบการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตลอดไป

2คณะทำงานด้านส่งเสริมอาชีพ โดยมี บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เป็นประธานฯ มุ่งส่งเสริมการกระจายรายได้ให้กับชุมชน ต่อยอดการท่องเที่ยว และพัฒนาคุณภาพสินค้าพื้นถิ่นภายใต้อัตลักษณ์ชาวคุ้งบางกะเจ้า ควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน  โดยดำเนินการพัฒนาโครงการตลาดเกษตรสีเขียวคุ้งบางกะเจ้า รวมทั้งคัดเลือกพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ งานเปิดวิถีชุมชน…คนคุ้งบางกะเจ้างาน Taste of Our Khung BangKachao รวมทั้งนำพาชุมชนออกสู่สายตาชาวโลกในงานประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่และให้ชุมชนรวมมากกว่า 1.ล้านบาท

3คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมี องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เป็นประธานฯ ดำเนินการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวคุณภาพ พัฒนากิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างตำบล จำนวน 2 เส้นทาง รวมถึงพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานอัตลักษณ์ของแต่ละตำบล เปิดตัวคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Kick off เที่ยวนี้ที่ไม่เหมือนเดิม…ที่คุ้งบางกะเจ้า) และเปิดตัว 6 เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแต่ละตำบลให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเรียนรู้ สัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนในมุมมองใหม่ ๆ ของคุ้งบางกะเจ้า ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อขับเคลื่อนสู่การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4คณะทำงานด้านการพัฒนาเยาวชน การศึกษา และวัฒนธรรม โดยมี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานฯ มุ่งเน้นการพัฒนาเยาวชนให้มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และเป็นคนดีในสังคม รวมถึงสร้างผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ ด้วยการพัฒนาศักยภาพเยาวชนทั้ง 5 ด้าน ผ่านกิจกรรมอาทิ โครงการ “ตะโกน โยน ยื่น” เด็กไทยไม่จมน้ำ โครงการเสริมทักษะการออม โครงการไฟไม่ไหม้ โครงการปราชญ์ชุมชนเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม โครงการสร้างผลิตภัณฑ์ประจำโรงเรียน โครงการ Chang Mobile Football Clinic โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการโรงเรียนคุณธรรม โครงการส่งเสริมหลักสูตรภาษาอังกฤษ โครงการส่งเสริมหลักสูตร STEM โครงการยกระดับทางการเรียน ONET เป็นต้น

5คณะทำงานการจัดการขยะ โดยมี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นประธานฯ ได้พัฒนาจุดรวบรวมขยะ ณ วัดจากแดง ซึ่งสามารถรวบรวมจัดเก็บขยะ Recycle ได้มากกว่า 54 ตัน สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ 126 tCO2e เทียบเท่ากับต้นไม้ 14,030 ต้น พัฒนาผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างรายได้เข้าชุมชน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 2,028,700 บาท ตลอดจนมีการจัดแผนอบรมความรู้การจัดการขยะครบวงจร สำหรับแผนงานสำคัญปี 2563 จะพัฒนาจุดรวบรวมและจัดการขยะอินทรีย์และขยะ Recycle (Zero Waste Hub) จัดตั้ง Zero Waste Hub และต่อยอดโมเดลการจัดการขยะอินทรีย์ (Ogafeed) จากโครงการ Waste Runner พัฒนาศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการขยะ ณ วัดจากแดง รวมถึงพัฒนาเครือข่ายโรงเรียน Zero Waste ต่อไป

6คณะทำงานด้านการจัดการน้ำและการกัดเซาะริมตลิ่ง โดยมี มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานฯ ดำเนินการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและคุณภาพน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการน้ำและพื้นที่เก็บกักน้ำในพื้นที่สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ พัฒนาพื้นที่สวนเกษตรผสมผสานแบบร่องสวนร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามแนวพระราชดำริการเกษตรอย่างยั่งยืน

จากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนพัฒนาภายใต้โครงการฯ  ได้เชื่อมโยงกระบวนการมีส่วนร่วม มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองแนวพระราชดำริฯ อันจะส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่เติบโตแข็งแรง เป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนให้อยู่ร่วมกับพื้นที่สีเขียวได้อย่างยั่งยืน และรักษาให้ “คุ้งบางกะเจ้า” เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของประเทศต่อไป

นอกจากนี้ ภายในงาน นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  ยังได้ทำพิธีส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ให้แก่ นายจิระศักดิ์ ชูความดี รองอธิบดีกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นโครงการที่ ปตท. กับกรมป่าไม้ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวบริเวณนี้ภายใต้แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมส่งมอบคืนให้   กรมป่าไม้เพื่อดูแลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าต่อไป