ปัจจัยกดดันตลาดเริ่มลดลง จังหวะเข้าลงทุนตลาดเกิดใหม่

59

คอลัมน์ KTBST Build  Your Net Worth

ประเด็นการลงทุนในช่วงนี้ เรื่องสำคัญยังอยู่ที่ การระบาดของโคโรน่าไวรัส ที่ตอนนี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 1 โดยเฉพาะในภาคการผลิตสินค้าของจีน ทำให้การเติบโต จีพีดี ของจีนในไตรมาสที่ 1 อาจลดลง 0.5-1% และจะมีผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าต่างๆ ด้วย รวมถึงไทยด้วย ซึ่งในขณะนี้การระบาดของไวรัสยังไม่หยุดลงแต่เริ่มลดความกังวลต่อตลาดลงไปได้บ้าง แต่ยังต้องจับตาดูต่อไปและหากมีระบาดรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในระยะถัดไป  ทั้งนี้ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสยังมีผลกระทบต่อ การส่งออกของไทย และอุตสากรรมรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในช่วงนี้ 

ประเด็นที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ คือ การแถลงนโยบายการเงินในที่ 11 ก.พ. ของประธานเฟด ต่อวุฒิสภา คาดว่าถ้อยแถลงจะยังเป็นการคงมุมมองในด้านการบริโภคภาคเอกชนของสหรัฐฯ และมุมมองต่อตลาดแรงงานในระดับที่ดี KTBST SEC คาดว่า Fed จะเริ่มส่งสัญญาณปรับลดอัตรดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นไป และคาดว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นได้อีก 1-2 ครั้ง คือ ในเดือน มิถุนายน และ กันยายน และในวันที่ 14-15 ก.พ. จะมีการเจรจาการค้าของสหรัฐกับจีนครั้งแรกหลังหลังมีการลงนามข้อตกลงการค้า คาดว่าการเจรจาจะออกมาในเชิงบวก หลังจีนประกาศลดภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงการค้าเฟสแรก ซึ่งถือเป็นผลบวกต่อตลาดและการเจรจรจาการค้าในรอบต่อไป

ขณะที่การลดดอกเบี้ยล่าสุดของไทยนั้น เป็นปัจจัยหนุนต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจตลาดหุ้น แต่อาจจะไม่สูงนัก ต้องจับตาดูว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะออกมาอย่างไรบ้าง หลังจากที่สภาฯ อนุมัติงบประมาณปี 2563 รอบใหม่ไปแล้ว อีกประเด็นคือ เรื่องราคาน้ำมัน แม้ล่าสุดกลุ่มโอเปก จะมีการลดกำลังการผลิต แต่ด้วยเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจึงยังไม่หนุนให้ราคาน้ำมันขึ้นไปมากได้ จนกว่าปัจจัยลบที่จะกดดันตลาดจะคลี่คลายลง ราคาน้ำมันถึงจะมีการปรับตัวขึ้น

ภาพรวมของตลาดในสัปดาห์นี้ อาจเห็นตลาดหุ้นไทยปรับตัวเคลื่อนไหวแคบๆ ด้วยปัจจัยที่มีทั้งบวกและลบสลับกันอยู่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังเป็นเรื่องหลักที่จะมีผลต่อทิศทางโดยรวมของตลาด ดังนั้นการลงทุนคงต้องกระจายลงทุนในสินทรัพย์ที่ยังให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ  KTBST SEC ยังให้น้ำหนักไปที่ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และสินทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและตราสารหนี้

ขณะเดียวกัน ในช่วงนี้เริ่มเป็นจังหวะที่น่าสนใจสำหรับการเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่มองว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียนยังเติบโตในระดับสูง และระดับราคาหุ้นตอนนี้อยู่ในระดับที่ไม่แพง เป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในระยะสั้นได้

ทั้งนี้ ในช่วงนี้ มีกองทุนที่เน้นลงทุนในประเทศ/ภูมิภาค/กลุ่มอุตสาหกรรมในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง โดยเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก JP Morgan Emerging Markets Equity Fund ซึ่งบริหารจัดการโดย JP Morgan Asset Management ตั้งเป้าหมายเลิกโครงการ 8%* ใน 8 เดือน คือ กองทุนเปิด วี อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต 8M (WE-EM8M) ของบลจ. วี ซึ่งจะเปิดเสนอขายIPO ระหว่างวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ 2563 

สำหรับผู้ที่สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (“บลจ.วี”) โทรศัพท์ 02-648-1111 หรือตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุนของ บลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบี (ประเทศไทย), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระ, บลน.ฟินโนมินา และ บลน. เวลท์ รีพับบลิค *• ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ติดตามข่าวสารการลงทุนได้จาก ”มุมความรู้”  https://www.ktbst.co.th/th/knowledge.php

โดยคุณชาตรี  โรจนอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 

บล. เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KTBST)