บลจ.พรินซิเพิล ปรับกลยุทธ์ลงทุนของ ‘กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม’ (PRINCIPAL iBALANCED) เป็น Asset Allocation

62

มิติหุ้น – บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด (บลจ. พรินซิเพิล”) ปรับกลยุทธ์ลงทุนของ กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (PRINCIPAL iBALANCED) เป็น Asset Allocation จัดพอร์ตการลงทุน โดยกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย ทั้งตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REITs และทองคำ ผ่านการลงทุนทางตรงและผ่านกองทุนของ บลจ.พรินซิเพิล เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้น หลังประเมินแนวโน้มการลงทุนในปีนี้มีความผันผวน พร้อมเพิ่มทางเลือกใหม่แก่นักลงทุน เตรียมเปิดขายหน่วยลงทุนชนิดจ่ายเงินปันผล (DividendClass – D วันที่ กุมภาพันธ์นี้ ประมาณการอัตราเงินปันผล 5 – 6% ต่อปี

นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.พรินซิเพิล เปิดเผยว่า บลจ.พรินซิเพิล ได้ปรับกลยุทธ์การลงทุนของ กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม หรือ Principal Balanced Income Fund (PRINCIPAL iBALANCED) เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยปรับเปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ ‘Asset Allocation’ เพื่อกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ได้แก่ ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) และทองคำ ทั้งการลงทุนโดยตรงและลงทุนผ่านกองทุนของ บลจ.พรินซิเพิล อาทิ กองทุนเปิดพรินซิเพิล คอร์ ฟิกซ์ อินคัม (PRINCIPAL iFIXED), กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอ็นแฮนซ์ อิควิตี้ (PRINCIPAL EEF), กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (PRINCIPAL iPROP) ฯลฯ จากเดิมที่กองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้และหุ้นไทยเป็นหลัก

ทีมจัดการลงทุนจะกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทเพื่อเป็นพอร์ตลงทุนหลัก (Strategic Asset Alloction) โดยมีการปรับสัดส่วนลงทุน (Rebalanced Portfolio) ในสินทรัพย์แต่ละประเภทแบบอัตโนมัติเมื่อชนกรอบสัดส่วนการลงทุนที่กำหนดไว้ และมีผู้จัดการกองทุน ทำหน้าที่ประเมินแนวโน้มการลงทุนในช่วง 6 – 12 เดือนข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ที่สอดคล้องกับทิศทางตลาด

นายจุมพล กล่าวว่า การปรับกลยุทธ์ของกองทุน PRINCIPAL iBALANCED ครั้งนี้ เนื่องจากภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว ดังนั้น การลงทุนจึงต้องมองหาโอกาสในกลุ่มสินทรัพย์หลากหลายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2562 สินทรัพย์ที่ลงทุนบางกลุ่มที่สามารถให้ผลตอบแทนสูง เช่น ดัชนี  Property Fund ปรับตัวเพิ่มขึ้น 22.54%REITs ในไทยและสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 25.61% (ที่มา: Bloomberg, Data as of 31 Dec 2019)

ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2563 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) จะยังเติบโตได้ดี โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 4.6% เทียบกับปีที่ผ่านมาคาดว่าเติบโตเฉลี่ย 3.9% เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาที่คาดว่าจะมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นเช่นกัน แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนในปี 2563 มีแนวโน้มเติบโตลดลงเหลือ 2.1% และ 5.8%ตามลำดับ จากปี 2562 คาดว่าจะเติบโต 2.4% และ 6.1%ตามลำดับ  (ที่มา: IMF and World Economic Outlook ข้อมูล ณ วันที่ 31 Dec 2019)

ขณะที่โอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีแนวโน้มลดลง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index หรือ PMI) ในภาคการผลิตและภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะมูลค่าเศรษฐกิจของภาคบริการที่คิดเป็นสัดส่วน 70% ของ GDP ยังคงอยู่ในช่วงขยายตัว และตัวเลขภาคการผลิตกว่า 60% ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4/2562 อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องติดตามในปีนี้คือ ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีน การออกจากสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) การเลือกตั้งในสหรัฐฯ ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ต้องติดตามพัฒนาการของเหตุการณ์ รวมทั้งการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า อาจเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจและสร้างความผันผวนต่อการลงทุนในตลาดการเงิน

นอกจากนี้ คาดว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะมีมุมมอง Dovish เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายลง การเพิ่มสัดส่วนลงทุนในตราสารหนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในตลาดการเงิน ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะกระตุ้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล (Yield Play) และคาดว่าทองคำจะได้รับ
ปัจจัยบวกในการลงทุนจากภาวะตลาดที่อยู่ในช่วง Risk Off หรือชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง

“การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ด้วยทีมจัดการลงทุนทุกทีมของบริษัทในการบริหารจัดการแต่ละสินทรัพย์ โดยมีผู้จัดการกองทุนหลักที่จะปรับสัดส่วนการลงทุนของแต่ละสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับภาวะการลงทุนในแต่ละขณะ เราเชื่อว่ากลยุทธ์นี้จะสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางภาวะการลงทุนที่ผันผวน “Stability Return, Minimization Risk” นายจุมพล กล่าว

ทั้งนี้ กองทุน PRINCIPAL iBALANCED จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ กันยายน 2556 โดยนับจากจัดตั้งกองทุนถึงปัจจุบันถือว่ามีผลการดำเนินงานที่ดี โดยรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Auto RedemptionClass – R ต่อเนื่องแล้ว 25 ครั้ง รวม 3.12 บาทต่อหน่วย โดยในวันที่ กุมภาพันธ์ 2563 บลจ.พรินซิเพิล จะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนชนิดจ่ายเงินปันผล (DividendClass – D เป็นครั้งแรก ประมาณการอัตราจ่ายเงินปันผลที่ 5 – 6% ต่อปี คาดการณ์จ่ายเงินปันผลประมาณ ครั้งต่อปี เพื่อเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาว โดยได้รับเงินปันผลจากการลงทุน

สำหรับนักลงทุนที่สนใจ สามารถขอหนังสือชี้ชวนและรายละเอียดกองทุนได้ที่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนตามที่บริษัทจัดการกำหนด และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด โทร. 02 686 9595 www.principal.th