ตลาดทรงตัวรอดูปัจจัยสำคัญ แนะจัดพอร์ตกระจายลงทุนทั่วโลก   

47

คอลัมน์ KTBST Build  Your Net Worth

SET Index ในวันเริ่มต้นของสัปดาห์สุดท้ายในเดือน ต.ค. ดัชนีเคลื่อนไหวแกว่งตัวสลับในแดนบวกลบตลอดวันและปิดทำการในแดนบวกได้ที่ระดับ 1,596.48 จุด +3.20 จุด (0.20%) ซึ่งยังไม่สามารถกลับขึ้นยืนเหนือระดับ 1,600 จุด ตั้งเจอแรงขายในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา  แต่ด้วยแรงขายที่ชะลอลงพร้อมกับข่าวในเชิงบวกที่เริ่มมีเข้ามา ทั้งเรื่องข้อตกลงการค้าสหรัฐฯกับจีน ล่าสุดประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่าอาจมีการทำข้อตกลงเร็วกำหนดเดิม คือวันที่ 16-17 พ.ย. ขณะที่ยุโรปสหภาพยุโรปตัดสินใจให้อังกฤษเลื่อนการทำ Brexit ออกไปจาก ต.ค. นี้เป็นช่วง ม.ค.ปีหน้า เป็นข่าวที่ช่วงลดความกังวลของตลาดลงไปได้

อย่างไรก็ตามในสัปดาห์นี้มีประเด็นที่ต้องติดตามคือ การรายงานตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ในวันที่ 30 ต.ค. คาดว่าจะออกมาที่ 1.6% QoQ ชะลอตัวจากช่วงก่อนหน้าที่ 2%  แต่หากมีตัวเลขดังกล่าวออกมาดีกว่าที่คาดจะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์กลับมาแข็งค่าอีกครั้งในระยะสั้น  ส่วนในวันที่ 31 ต.ค. จะมีการพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) คาดว่าจะมีการปรับลดลงจาก 2% สู่ระดับ 1.75%  โดยความน่าจะเป็นในการปรับลดดอกเบี้ยประจำเดือนตุลาคมอยู่ที่ 90.4% ซึ่งปัจจุบันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่  1.768% ซึ่งสะท้อนการปรับลดดอกเบี้ยในรอบการประชุมเดือนตุลาคมไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ในวันที่ 1 พ.ย. ติดตามการรายงานตัวเลขผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะออกมาที่ 48.4 ฟื้นตัวจากช่วงก่อนหน้าที่ 47.8 เพียงเล็กน้อย ตามภาวะของนักลงทุนที่มีมุมมองด้านการเจรจาการค้าดีขึ้น

อีกประเด็น คือ เรื่องของสหรัฐฯ ที่ได้ประกาศระงับการใช้สิทธิพิเศษ GSP กับสินค้าไทยจำนวน 573 รายการ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. โดยจะมีผลในวันที่ 25 เม.ย. 2563  KTBST มองว่า ประเด็นดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อหุ้นใน SET เพราะบริษัทที่ KTBST ได้สำรวจนั้นไม่มีใดถูกตัดสิทธิ แต่กลุ่มส่งออกยังมีมุมมองในเชิงลบเนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่า

ทั้งนี้กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการถูกระงับ GSP ได้แก่ 1. ) กลุ่มเกษตรและอาหาร (Agri&Food) : คาดว่าไม่มีสินค้าใดเข้าข่ายถูกตัดสิทธิ GSP โดย หุ้น TU ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จาก GSP  ส่วนหุ้น CPF ไม่มีผลกระทบเพราะมีบริษัทส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯเพียง 0.3% ของรายได้รวม และหุ้น STA ไม่ได้รับ เพราะไม่ได้ผลิตถุงมือกีฬา ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกตัดสิทธิ 2.)กลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ : คาดว่าหุ้นอย่าง DELTA ,HANA ,KCE ,SVI ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่มีสินค้าใดถูกตัดสิทธิ GSP ในรอบนี้  3.)กลุ่มยานยนต์ (Automotive) ไม่ได้รับผลกระทบในหุ้นอย่าง SAT, AH ,STANLY เนื่องจากไม่มีสินค้าใดถูกตัดสิทธิ และส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งออกไปสหรัฐฯ  ส่วนหุ้นอื่นๆ เช่น JWD  คาดว่าม่ได้รับผลกระทบ โดยธุรกิจห้องเย็นไม่มีสินค้าใดส่งออกไปสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยุโรป ,ญี่ปุ่น ,จีน เป็นหลัก

สำหรับการลงทุนในช่วงสั้นนี้ ต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และพร้อมปรับพอร์ตการลงทุนตลอดเวลา SET Index ยังมีแนวโน้มขึ้นไปยืนเหนือ 1,600 จุดได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักดังที่กล่าวไป แต่หากดัชนีปรับตัวต่ำกว่า 1,580 จุด ก็ต้องเตรียมปรับพอร์ตลงกันอีกรอบ ดังนั้นในช่วงสั้นนี้นักลงทุนอาจเลือกลงทุนสั้นๆ ในหุ้นที่ปรับตัวลงไปมาก ส่วนการลงทุนในต่างประเทศแนะนำตลาดหุ้นจีน-อินเดีย ที่ยังมีการเติบโตในระดับที่น่าสนใจ  รวมไปถึงการจัดพอร์ตลงทุนในกองทุนผสมเพื่อกระจายลงในหลายสินทรัพย์ทั่วโลก อย่างเช่น กองทุน WE-MULTI จาก บลจ.วี ที่เปิดขาย IPO ในช่วงวันที่ 25-31 ต.ค. 2562  (ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน) ติดตามข่าวสารการลงทุนได้จาก ”มุมความรู้”  https://www.ktbst.co.th/th/knowledge.php

 

                              โดยชาตรี  โรจนอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 

                                                             บล. เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KTBST)

 

www.mitihoon.com