กสทช. จับมือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติสร้างความรู้เรื่อง Artificial Intelligence (AI) ผลักดันไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

105

มิติหุ้น – 16 กันยายน 2562 กรุงเทพฯสำนักงานคณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจกรรมโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ภายใต้กรอบการประชุมใหญ่ WTDC จัด การประชุมเชิงปฏิบัติการ NBTC-ITU-NIA Center of Excellence 2019” ประจำปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการประชุมสูงสุดของภาคการพัฒนาโทรคมนาคมแห่งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-D) ที่เป็นไปตามกำหนดในรัฐธรรมนูญ (Constitution) และอนุสัญญา (Convention) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกภูมิภาคต่าง ๆ ทั้ง 5 ภูมิภาคทั่วโลก อาทิ อเมริกา ยุโรป แอฟริกา อาหรับ และเอเชียแปซิฟิก ที่มาร่วมเสนอ แนะแนว เกี่ยวกับนโยบาย หรือดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ ตลอดจนร่วมกันพิจารณากำหนดแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและเพื่อกำหนดทิศทางของแนวนโยบายของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและกำกับดูแลโทรคมนาคมขององค์กรแต่ละหน่วยงานที่ดูแล โดยโครงการความร่วมมือดังกล่าว ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติ NBTC-ITU Center of Excellence 2019 ในประเด็นเรื่อง Artificial Intelligence Overview เป็นระยะเวลา วัน ระหว่างวันที่ 16-19 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุม The Suite ชั้น 3 โรงแรม เรดิสัน บลูพลาซ่า กรุงเทพฯ

                 การจัดการประชุมเป็นไปตามโครงการความร่วมมือในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการกำกับดูแลภายในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจกรรมโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ภายใต้กรอบการประชุมใหญ่ WTDC ประจำปี พ.ศ.2562 เรื่อง การประชุมเชิงปฏิบัติการ NBTC-ITU-NIA Center of Excellence 2019” ในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานพัฒนาด้านคมนาคมภายใต้กรอบการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยพัฒนาโทรคมนาคมปี ค.ศ.2017 (World Telecommunication Develop Conference : WTDC-17) ในการยกระดับและพัฒนาโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกิจการโทรคมนาคมภายในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและเพื่อกำหนดทิศทางของแนวนโยบายของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมและ ICT ตลอดจนพัฒนาความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีภายใต้โครงการความร่วมมือของ ITU-D ระหว่างประเทศสมาชิก ถือเป็นการเผยแพร่ความรู้ในด้าน Artificial Intelligence (AI) ให้แก่ประชาชนคือองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประเทศสมาชิก

                 ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ 5G, Internet of Things (IoT), Blockchain, Big Data, Cloud, Digital Platform และ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีบทบาทที่สำคัญต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีไปสู่ดิจิทัล ที่จะเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กล่าวมานั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อภาคส่วน ICT และส่งผลต่อภาคส่วนสาธารณสุข เกษตรกรรม การคมนาคม การค้า และระบบการเงิน ที่จะมาเปลี่ยนแปลงช่วยพัฒนาศักยภาพและความสามารถของประชากรและองค์กรต่าง ๆ ภายในประเทศไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

                 ดังนั้น โครงการความร่วมมือในการจัดการประชุมปฏิบัติการด้านการกำกับดูแลเอเชียและแปซิฟิกระหว่างสำนักงาน กสทช. และ ITU ภายใต้กรอบการประชุมใหญ่ WTDC ประจำปี 2562 จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของประชากรและองค์กรต่าง ๆ พร้อมทั้งยังสอดคล้องกับแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลที่จะผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล (Digital Economy) รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

www.mitihoon.com