SIMAT ยื่นอุทธรณ์ศาลปกครอง ฟ้อง กสท.เรียกค่าเสียหาย 434 ลบ.

80

มิติหุ้น-บมจ.ไซแมท เทคโนโลยี (SIMAT) โดย นายธรรมนูญ ก่อเกียรติวนิช กรรมการ / เลขานุการบริษัท เปิดเผยว่า บริษัทในฐานผู้ฟ้องได้ดําเนินการยื่นฟ้องต่อศาล ปกครอง เพื่อเรียกค่าเสียหายจํานวนทุนทรัพย์ 665.62 ล้านบาท จาก บมจ.กสท โทรคมนาคม (“ผู้ถูกฟ้องคดี”) ในกรณีที่ ผู้ ถูกฟ้องคดีผิดสัญญาไม่ดําเนินการตรวจรับและไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าใช้โครงข่ายใยแก้วนําแสงพร้อมอุปกรณ์ในพื้น ที่ จังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ สัญญาลงวันที่ 10 มิ.ย. 2554 และ 13 มิ.ย. 2554 ตามลําดับ ซึ่ง ทางผู้ฟ้องคดีได้ดําเนินการจัดซื้อ อุปกรณ์และติดตั้ง โครงข่ายใยแก้วนําแสงจนเสร็จสิ้น และได้ดําเนินการส่งมอบอุปกรณ์ ทั้งระบบต่อ ผู้ถูกฟ้องคดีแล้ว สําหรับโครงข่ายในพื้น ที่จังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2555 และ วันที่ 11 ก.ค. 2555 ตามลําดับ ตามเงื่อนไขในสัญญาดังกล่าว แต่ ผู้ถูกฟ้องคดีกลับเพิกเฉย ไม่ดําเนินการตรวจรับตามสัญญา และผู้ฟ้องคดีได้มีการทวงถามเป็นหนังสือไปยัง ผู้ถูกฟ้องคดีหลายครั้งแล้ว แต่ ผู้ถูก ฟ้องคดีก็ไม่ดําเนินการและไม่มีการปฏิบัติใดๆให้เป็นไปตามสัญญา บริษัทฯจึงได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาต่อผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2556 และจึงได้ดําเนินการฟ้องร้องต่อ ผู้ถูกฟ้องคดี

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2561 ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคําพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ 2478/2561โดยสรุปว่า เมื่อผู้ ฟ้องคดีต้องเสียหายจากการปฏิบัติตามสัญญาที่ทํากับผู้ถูกฟ้องคดีโดยดําเนินการติดตั้งระบบโครงข่ายใยแก้วนําแสงตาม สัญญาพิพาททั้งสองฉบับ ไม่ว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะได้เข้าใช้หรือได้รับประโยชน์จากโครงข่ายดังกล่าวหรือไม่ ผู้ถูกฟ้องคดีก็ไม่ อาจปฏิเสธความรับผิดไม่ชดใช้ความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีได้ ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีในกรณีดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้ ค่าเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีพึงได้รับการชดใช้จะต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างแท้จริง และมี ความชัดเจนเพียงพอซึ่งสามารถพิสูจน์ต่อศาลได้และเกิดขึ้นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ โดยศาลปกครองชั้นต้นได้พิพากษาให้ ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายดังนี้  1) ค่าเสียหายจากการที่ผู้ฟ้องคดีได้ส่งมอบอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับควบคุมและตรวจสอบระบบโครงข่ายให้แก่ผู้ถูกฟ้อง คดีแต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่คืนอุปกรณ์ดังกล่าว โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดี ชดใช้เงินจํานวน 53.23 ล้านบาท พร้ อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่ผู้ฟ้องคดี  2) ให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนหนังสือคํ้าประกันธนาคารกับให้ชดใช้ค่าธรรมเนียมของหนังสือคํ้าประกันธนาคารปีละ 0.14 ล้านบาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะคืนหนังสือคํ้าประกันให้แก่ผู้ฟ้องคดี  3) ค่าขาดโอกาสที่ผู้ฟ้องคดีจะได้รับผลกําไรจากการประกอบธุรกิจ หากผู้ถูกฟ้องคดีตรวจรับงานนั้น ศาลเห็นว่า ค่าเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีพึงได้รับจากการกระทําละเมิดจะต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความเสียหายที่ได้เกิดขึ้น แล้วอย่างแท้จริง ความเสียหายที่เป็นค่าขาดโอกาสเป็นเพียงการคาดการณ์มิใช่ความเสียหายที่แท้จริงและไม่ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ศาลจึงไม่อาจกําหนดค่าเสียหายในกรณีนี้ได้

 

จากคําพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น บริษัทฯพิจารณาแล้วเห็นว่าค่าเสียหายที่บริษัทฯได้ฟ้องร้องในส่วนของ ค่าเสียหายหลักยังมีความไม่ชัดเจนและไม่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง บริษัทฯจึงได้ดําเนินการยื่น อุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2562 โดยได้แก้ไขและชี้แจงเพิ่มเติมข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความ เสียหายที่เกิดขึ้นให้มีความชัดเจนและพิสูจน์ต่อศาลได้ โดยได้รวบรวมข้อมูลค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงได้แก่ จํานวนเงินที่ บริษัทฯได้จ่ายเงินเพื่อลงทุนซื้ออุปกรณ์ ค่าแรงติดตั้ง และต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างโครงข่าย รวม มูลค่าเท่ากับ 434,242,557 บาท ซึ่งมูลค่าต้นทุนระบบโครงข่ายที่บริษัทฯได้ลงทุนนั้น สามารถตรวจสอบได้จากงบการเงิน ของบริษัทฯสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2555 ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พร้อมทั้งยื่น เอกสารเพิ่มเติมได้แก่ งบการเงิน รายละเอียดต้นทุนค่าอุปกรณ์และต้นทุนทางการเงินแยกตามจังหวัด พร้ อมเอกสารใบ แจ้งหนี้ ใบกํากับภาษี และใบเสร็จรับเงินจากผู้ขาย บริษัทฯจึงได้รายงานคําพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นและรายงานการยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุดในคดี พิพาทดังกล่าว

www.mitihoon.com