“บล.ไอร่า” มองหุ้นไทยเดือนก.ค.ลุ้นทดสอบ 1,717 จุด ปัจจัยในประเทศไม่เปลี่ยน-แนะเก็งกำไรหุ้นเป้าหมายต่างชาติลงทุน

107

มิติหุ้น-บล.ไอร่า ประเมินหุ้นไทยเดือน ก.ค.  ฟื้น หลังหลุด 1,600 จุดในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา เหตุรับรู้ปัจจัยลบต่างประเทศ  อาทิ สงครามการค้า เฟดขึ้นดอกเบี้ย และกลับมาเก็งกำไรการประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/61ของบริษัทจดทะเบียน และเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางปรับตัวดีต่อเนื่อง  ให้กรอบดัชนี 1,670 – 1,717 จุด แนะเก็งกำไรหุ้นเป้าหมายของนักลงทุนต่างชาติ หลัง Fund Flow ไหลกลับ ชู ADVANC-BBL- PTTEP

นางจิตรลดา เลขาพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) หรือ  AS เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นในเดือนกรกฎาคม คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มเศรษฐกิจดีต่อเนื่อง หลังไตรมาส 1/2561 เติบโต 4.8% สูงสุดในรอบ 5 ปี ล่าสุด ธปท. เพิ่มคาดการณ์ GDP ปี61 เป็น 4.4% จากเดิม 4.1% ตามการส่งออกและท่องเที่ยวที่โดดเด่น และดีกว่าคาด สอดคล้องกับคาดการณ์ของสภาพัฒน์ฯ ที่ 4.2 – 4.7% ซึ่งสูงสุดในรอบ 6 ปี

นอกจากนี้ ยังได้รับปัจจัยบวกจากแรงเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 2/2561 เริ่มจากกลุ่มธนาคาร ประมาณกลางก.ค. หลังจากนั้นเป็น Real Sector จนถึงกลางส.ค.61 รวมถึงราคาน้ำมัน ที่คาดได้รับ Sentiment บวกจากความร่วมมือลดปริมาณผลิตน้ำมัน สูงกว่า 1.2 ล้านบาร์เรล ถึง 152%  ประกอบกับการเพิ่มปริมาณผลิตน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรล/วัน ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยปริมาณส่งออกน้ำมันของอิหร่านและเวเนซูเอล่า ดีกว่าคาดหมายก่อนหน้าที่คาดสูงถึง 1.5 ล้านบาร์เรล และมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ โดยสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศพันธมิตร ระงับการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านภายในวันที่ 4/11/61

ส่วนปัจจัยที่ยังคงกดดันภาพรวมการลงทุนในเดือนนี้ คือ Fund Flow ต่างชาติยังขายสุทธิตลอดครึ่งปีแรก  2561 จำนวน 180,077 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคส่วนใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล. ไอร่า  (AS) กล่าวเพิ่มว่า  สำหรับปัจจัยที่ยังคงต้องจับตาสำหรับเดือนกรกฎาคมนี้  คือ นโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่คาดยังมีความไม่แน่นอน และคาดสร้างความผันผวน รวมถึงส่งผลต่อความเชื่อมั่นลงทุน เช่นที่เกิดขึ้นเมื่อมี.ค.  – มิ.ย. ที่ผ่านมา รวมถึงการประชุมเฟดที่จะจัดขึ้นในวันที่31/7/61 – 1/8/61 คาดการณ์ว่ามีการคงอัตราดอกเบี้ย ไว้ที่ 1.75 – 2.00% และคาดปรับขึ้นอีก 2 ครั้ง ในเดือนก.ย. และธ.ค. ตามลำดับ  และ Bond Yield โดย Bond Yield