ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้ที่กรอบ 65 -70 US/บาร์เรล

220

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 65 -70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 74 -79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (28 พ.ค. – 1 มิ.ย. 61)

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากอุปทานน้ำมันดิบของโลกมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น หลังความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านและเวเนซุเอลา ทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯ ออกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมต่อเวเนซุเอลา นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากโอเปกที่ยังคงปรับลดกำลังผลิตในระดับสูง ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันคงคลังของประเทศพัฒนาแล้วปรับลดลงมาใกล้ค่าเฉลี่ย 5 ปี อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มขึ้น หลังโอเปกกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบโลกอาจตึงตัวมากเกินไป โดยจะมีการพิจารณาปรับเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมวันที่ 22 มิ.ย.นี้ นอกจากนั้น กำลังการผลิตของสหรัฐฯ ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแตะระดับเหนือ 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังคงขยับตัวอยู่ในกรอบที่จำกัด

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้

  • ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศเวเนซุเอลาคาดจะปรับลดลงต่อเนื่อง หลังการเลือกประธานาธิบดีในวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี Nicolas Maduro ยังสามารถครองชัยชนะต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2 ได้ ส่งผลให้สหรัฐฯ เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและห้ามการซื้อขายน้ำมันดิบกับเวเนซุเอลา โดยมาตรการดังกล่าวทำให้เวเนซุเอลาไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องและอาจปรับลดลงถึง 2 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปีนี้ โดยปริมาณการผลิตล่าสุดปรับลดลงกว่า 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวันจากต้นปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

  • การผลิตน้ำมันดิบในประเทศอิหร่านมีแนวโน้มปรับลดลงกว่า 3 – 1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์และประกาศบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน ซึ่งส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบตึงตัวเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยุโรปได้ประกาศมาตรการ “Blocking Statute” เพื่อปกป้องบริษัทยุโรปที่ได้ลงทุนในอิหร่านและอาจได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ และยังเป็นการปกป้องให้อิหร่านได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรอย่างจำกัด เนื่องจากบริษัทยุโรปยังคงลงทุนในอิหร่านได้อยู่ มาตรการนี้มีขึ้นโดยพยายามที่จะรักษาข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านไว้

 

  • จับตาการประชุมของผู้ผลิตกลุ่มโอเปกว่าจะมีการปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับอุปทานที่ตึงตัวหรือไม่ หลัง ปริมาณน้ำมันคงคลังของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วปรับลดลงอย่างมากมาอยู่ที่ระดับเหนือค่าเฉลี่ย 5 ปี เพียงแค่ 9 ล้านบาร์เรล จากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกที่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 166 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงอุปทานที่มีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้นจากเวเนซุเอลาที่กำลังการผลิตปรับลดลงต่อเนื่อง และอิหร่านที่เผชิญกับการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ขณะที่อุปสงค์น้ำมันที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกและคาดว่าจะแตะระดับ 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

 

  • การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบทะยานสูงขึ้นเหนือระดับต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้ผลิตเพิ่มการขุดเจาะและผลิตน้ำมันขึ้นต่อเนื่องมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี นำโดยการเติบโตของผู้ผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale Oil) ที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน มิ.ย. โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวันและคาดจะแตะระดับ 11.0 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในไตรมาส 4 ของปีนี้

 

  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลง หลังปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันของโรงกลั่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการขับขี่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการกลั่นน้ำมันดิบสำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 91.8 หรือประมาณ 17.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

  • ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน การบริโภคส่วนบุคคลและการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 21 – 25 พ.ค. 61)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง 3.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 67.88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 2.07 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 76.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 75.59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงกดดันจากผู้ผลิตกลุ่มโอเปกและรัสเซียที่เพิ่มการผลิตเพื่อรองรับตลาดน้ำมันที่อยู่ในภาวะตึงตัว ประกอบกับ ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 5.8 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ดีความกังวลต่อปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของเวเนซุเอลาที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมกับเวเนซุเอลา เป็นปัจจัยสนับสนุนราคา