แอร์เอเชียร่วมกับ Kbank เพิ่มความสะดวก ชำระค่าตั๋ว ผ่าน คิวอาร์ โค้ด!สำหรับการสำรองที่นั่งที่เคาน์เตอร์แอร์เอเชีย สนามบินภายในประเทศ

89

สายการบินแอร์เอเชีย ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย เพิ่มช่องทางการชำระเงินแบบไม่ต้องใช้เงินสด สำหรับผู้โดยสารแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย เอ็กซ์ สำรองที่นั่งสะดวกผ่านเคาน์เตอร์ท่าอากาศยานภายในประเทศไทย และสำนักงานขายแอร์เอเชียสาขาป่าตอง สามารถเลือกชำระเงินผ่านคิวอาร์ โค้ด ได้แล้ว พิเศษ..สำหรับลูกค้า K Plus รับเงินคืน 200 บาท เมื่อซื้อบัตรโดยสารแอร์เอเชีย 3,500 บาทขึ้นไป

นายสันติสุข คล่องใช้ยา ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ปัจจุบันผู้โดยสารนิยมใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันมือถือ ซึ่งสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น แอร์เอเชียจึงไม่หยุดนิ่งในการก้าวเป็นบริษัทดิจิทัล  ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญ พร้อมนำนวัตกรรมและเพิ่มทางเลือกบริการใหม่ๆ มาพัฒนาให้สอดคล้องกับทุกไลฟ์สไตล์ ซึ่งล่าสุดเราได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่ไม่ต้องการจ่ายเงินสด สำหรับการสำรองที่นั่งผ่านเคาน์เตอร์แอร์เอเชีย ณ ท่าอากาศยานทั่วประเทศทั้ง 21 แห่ง รวมทั้งสำนักงานขายแอร์เอเชีย หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เพียงแค่เปิดแอปพลิเคชัน สแกนคิวอาร์โค้ด ก็สามารถชำระเงินค่าสำรองที่นั่งและบริการกับแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย เอ็กซ์ได้ทันที ครอบคลุมทุกเส้นทางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

นอกจากบริการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดแล้ว ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป สายการบินแอร์เอเชียก็ยังเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย ที่สำรองที่นั่งและบริการ ผ่าน www.airasia.com  จะสามารถเลือกชำระเงินแบบแบ่งจ่ายได้เป็นครั้งแรก โดยเลือกคลิกที่เมนู “การผ่อนชำระ” ในขั้นตอนการชำระเงิน ซึ่งจะพบกับ KBank Smart Pay สามารถผ่อนชำระสูงสุดได้นานถึง 10 เดือน โดยเชื่อว่าจะเป็นขยายกลุ่มผู้ใช้บริการให้กว้างและทำให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับทุกคน

นอกจากบริการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดแล้ว ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป สายการบินแอร์เอเชียก็ยังเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย ที่สำรองที่นั่งและบริการ ผ่าน www.airasia.com  จะสามารถเลือกชำระเงินแบบแบ่งจ่ายได้เป็นครั้งแรก โดยเลือกคลิกที่เมนู “การผ่อนชำระ” ในขั้นตอนการชำระเงิน ซึ่งจะพบกับ KBank Smart Pay สามารถผ่อนชำระสูงสุดได้นานถึง 10 เดือน โดยเชื่อว่าจะเป็นขยายกลุ่มผู้ใช้บริการให้กว้างและทำให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับทุกคน